องค์ประกอบที่ 2 พัฒนาระบบบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองทุกการเปลี่ยนแปลง โดยมีผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ระบบบัญชีข้อมูล (RMUTP Data Catalog) ระบบบัญชีข้อมูลเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้จัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดยมีการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลแยกตามระดับชั้นความลับของข้อมูล
ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลผลิต
เกณฑ์การประเมิน : คะแนน
คำอธิบายตัวบ่งชี้ : พัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (RMUTP Data Catalog) เพื่อเปิดเผยข้อมูลพื้นฐานมหาวิทยาลัย ให้บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล เช่น การนำข้อมูลไปประกอบการประชุม วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย และตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน
คะแนน 1 | คะแนน 2 | คะแนน 3 | คะแนน 4 | คะแนน 5 |
มีการดำเนินการ
1 ข้อ |
มีการดำเนินการ
2 ข้อ |
มีการดำเนินการ
3 ข้อ |
มีการดำเนินการ
4 ข้อ |
มีการดำเนินการ
5-6 ข้อ |
เกณฑ์มาตรฐาน : ข้อ
ผลการดำเนินงาน:
- มีการสำรวจ วิเคราะห์ และออกแบบชุดข้อมูลพื้นฐานมหาวิทยาลัย
1.ได้มีการดำเนินการทำหนังสือบันทึกข้อความไปยังหน่วยงานในการขอเข้าพบเพื่อสำรวจข้อมูลที่มีอยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อจะนำมาหาจุดเริ่มต้นของการเก็บและรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในระบบ data catalog และเริ่มดำเนินการเข้าพบแต่ละหน่วยงานเพื่อสำรวจข้อมูลเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2566 เป็นต้นไป
2.ได้ดำเนินการทำหนังสือขอเข้าสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง (CEO Interview) โดยได้ดำเนินการเข้าพบอุปนายกสภามหาวิทยาลัย ,อธิการบดี ,รองอธิการบดี เพื่อนำข้อคำถาม (Gap Analysis) มาวิเคราะห์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลเพื่มเติมในส่วนข้อมูลที่ยังไม่เคยมีการจัดเก็บมาก่อนเพื่อจะนำมาสร้างฐานข้อมูลใหม่ ๆ เพื่อจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ในอนาคต
3.ข้อมูลที่ได้รวบรวมจากการสำรวจได้นำมาจัดสร้างเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลในระบบและนำมาวิเคราะห์จัดทำเป็นรายงานข้อมูล dashboard ต้นแบบข้อมูลพื้นฐานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- มีการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล ที่สามารถกำหนดชั้นความลับ แบ่งแยกชุดข้อมูลตามหน่วย
ได้มีการเขียนและพัฒนาออกแบบระบบ data catalog (Data.rmutp.ac.th) และจัดทำชุดบัญชีข้อมูลสาธารณะแบ่งเป็นชุดไว้จำนวน 14 ชุดข้อมูลมีเพิ่มเติมในอนาคต และได้มีการกำหนดการ Login เข้าสู่ระบบเพื่อระบุตัวตนบุคคลที่เข้ามาใช้งานระบบ data catalog เก็บเป็นไฟล์ log ไว้
- มีการปรับปรุงชุดข้อมูลตามนิยามข้อมูล (Metadata) อยู่เสมอ
ได้มีการทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคลังข้อมูลกลางของมหาวิทยาลัย ลงวันที่ 11 เมษายน 2567 ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ดังนี้
1.คณะกรรมการทีมบริกรข้อมูล มีหน้าที่ในการนิยามข้อมูล (Metadata)
2.คณะกรรมการปฏิบัติการด้านข้อมูล มีหน้าที่ในการทบทวนอนุมัติการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เช่นการเปลี่ยนแปลง (Metadata) และเกณฑ์การทำดาต้าคลีนซิ่ง (Data Cleansing) และดำเนินการปรับปรุงตามรอบของการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่กำหนดไว้
- มีข้อมูลไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของชุดข้อมูลพื้นฐานที่ถูกออกแบบ
- มีข้อมูลไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของชุดข้อมูลพื้นฐานที่ถูกออกแบบ
- มีข้อมูลครบทุกชุดข้อมูลพื้นฐานที่ถูกออกแบบ
ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย (ข้อ) |
12 เดือน (1 มิ.ย. 66-31 พ.ค. 67) |
การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน | |||
[ ] | [ √ ] | [ ] | |||
ผล | คะแนน | ต่ำกว่าเป้าหมาย | เท่ากับเป้าหมาย | สูงกว่าเป้าหมาย | |
3 | 3 | 3 |
รายการหลักฐาน
สวส 2.2.1-4 ไฟล์รูปภาพเข้าสัมภาษณ์ผู้บริหาร
สวส 2.2.2-1 เว็บไซต์ https://data.rmutp.ac.th
จุดเด่น
ผู้บริหารมีนโยบายที่ชัดเจนและสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
จุดที่ควรพัฒนา
บุคลากรในหน่วยยังขาดความเข้าใจในบริบทหน้าที่ของตนเองตามที่มีในหนังสือแต่งตั้งคณะกรรมและขาดความร่วมมือในแต่ละหน่วยงาน
ผู้รับผิดชอบ | ชื่อ | ตำแหน่ง |
ผู้กำกับตัวบ่งชี้ | นายแสงสรรค์ ตินารักษ์ | หัวหน้างานพัฒนาคลังข้อมูลกลาง |
ผู้จัดเก็บข้อมูล/รายงาน | นายคมจักร คำเสียง | นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ |