2559 IQA 4.1

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1  สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการเรียนการสอนทางไกล
ชนิดตัวบ่งชี้  : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้ : ระบบการเรียนการสอนทางไกลระบบการเรียนรู้แบบทางไกลมีประสิทธิภาพอาจารย์และนักศึกษาสามารถติดต่อสื่อสารได้ใกล้ชิด เช่น ระบบอิเลิร์นนิ่ง ระบบวีดีโอสื่อการสอน การผลิตสื่อการเรียนการสอน การเรียนการสอนห้องอัจฉริยะ และ การเรียนการสอนของห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1

คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4

คะแนน 5

มีการดำเนินการ 1 ประเด็น

มีการดำเนินการ 2 ประเด็น มีการดำเนินการ 3 ประเด็น มีการดำเนินการ

4 ประเด็น

มีการดำเนินการ

5 ประเด็น

ผลการดำเนินงาน 

[√]  1.  มีระบบ และกลไก ด้านการเรียนการสอนทางไกล

โดยกลุ่มพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ได้จัดทำระบบกลไกด้านการเรียนการสอนทางไกลขึ้น เพื่อเป็นการกำหนดเป้าหมาย ขอบเขต และวางแผนการดำเนินงานระบบการเรียนการสอนทางไกล มีการประเมินกระบวนการ เพื่อนำผลมาพัฒนาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

[√]  2.  มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงานด้านการเรียนการสอนทางไกล

โดยกลุ่มพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการเรียนการสอนทางไกล เพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบการเรียนการสอนทางไกลให้มีประสิทธิภาพ มีการกำหนดแผนการดำเนินการประจำปีการศึกษา 2559

[√]  3.  มีการประเมินกระบวนการ และมีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการเรียนการสอนทางไกล

โดยกลุ่มพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มีการสำรวจความต้องการ การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อให้ทราบถึงความต้องการของผู้ใช้บริการ มีการประเมินกระบวนการการเรียนการสอนทางไกล และผลการดำเนินงานประจำปีการศึกษา 2559 เพื่อนำผลมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินงานประจำปีการศึกษา 2559  มีดังนี้

ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ (e-Learning) มีรายวิชาที่ผลิตเสร็จสมบูรณ์

จำนวน 10 รายวิชา แบ่งตามคณะต่างๆ ได้ดังนี้

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 3 วิชา
คณะศิลปศาสตร์ จำนวน 1 วิชา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 4 วิชา
คณะบริหารธุรกิจ จำนวน 1 วิชา
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ 1 วิชา

สื่อการเรียนการสอนที่เผยแพร่ในลักษณะของ Video on Demand มีรายวิชาที่ผลิตเสร็จสมบูรณ์ จำนวน 4 วิชา

  1. สนุกกับภาษา 3 จำนวน 9 ตอน
  2. หลักสูตรอบรม การใช้โปรแกรม EndNote เพื่อการจัดการบรรณานุกรมและการทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
  3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป (SPSS) รุ่นที่ 2
  4. โครงการฝึกอบรมหลักสูตร Google for Education สำหรับสายวิชาการ

ความพึงพอใจระบบการเรียนการสอนออนไลน์ (e-Learning) มีค่าความเฉลี่ย 4.45 อยู่ในระดับ มาก
ความพึงพอใจระบบการเรียนการสอน Video on Demand มีค่าความเฉลี่ย 4.55 อยู่ในระดับ มากที่สุด

[ √ ]  4.  มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมของการเรียนการสอนทางไกล

โดยกลุ่มพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มีการพัฒนา/ปรับปรุงระบบการเรียนการสอนทางไกลอย่างเป็นรูปธรรม มีการรายงานผลการปรับปรุง/แก้ไขอย่างชัดเจน มีการกำหนดระบบกลไกการมีส่วนร่วมของผู้รับริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกลุ่ม

[√]  5.  มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการการเรียนการสอนทางไกล โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน สามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน

โดยกลุ่มพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา จัดทำแนวปฏิบัติที่ดีด้านการเรียนการสอนทางไกล เรื่องการถ่ายทำรายการโทรทัศน์จากระบบ SD เป็น HD เผยแพร่สู่สาธารณะชน

ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย

ค่าเป้าหมาย

(ประเด็น)

10 เดือน

(1 ส.ค. 59-31 พ.ค. 60)

 

การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน

ผล

คะแนน

[  ]

[  ]

[√]

 

3

 

5

 

5

ต่ำกว่าเป้าหมาย

เท่ากับเป้าหมาย

สูงกว่าเป้าหมาย

รายการหลักฐาน

1. มีระบบ และกลไก ด้านการเรียนการสอนทางไกล

สวส.4.1.1-1  แผนผังระบบและกลไก ด้านการเรียนการสอนทางไกล

2. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ / ดำเนินงานด้านการเรียนการสอนทางไกล

สวส.4.1.2-2  แต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการเรียนการสอนทางไกล 2559
สวส.4.1.2-3  แผนการดำเนินงานการประกันคุณภาพ ปี 2559
สวส.4.1.2-4  รายงานการประชุมการประกันคุณภาพ
สวส.4.1.2-5  ภาพการประชุมการวางแผนการดำเนินงานด้านการเรียนการสอนทางไกล
สวส.4.1.2-6  หนังสือรับสมัครคณาจารย์เข้าร่วมโครงการ 59
สวส.4.1.2-7  หลักเกณฑ์คุณสมบัติรายวิชาที่นำมาพัฒนาบทเรียน
สวส.4.1.2.8  หนังสือรับสมัครคณาจารย์เข้าร่วมโครงการบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์

3. มีการประเมินผลกระบวนการ และมีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจาก ผลการเรียนการสอนทางไกล

สวส.4.1.3-9  แบบสำรวจความต้องการ การพัฒนาสื่อนวัตกรรม (1)
สวส.4.1.3-10  ผลสำรวจความต้องการ
สวส.4.1.3-11  รายงานการประชุม KPI ครั้งที่ 2-59
สวส.4.1.3-12  ภาพการประชุมครั้งที่ 2 สำรวจความต้องการการพัฒนาผลิตสื่อนวัตกรรม
สวส.4.1.3-13  หนังสือประชาสัมพันธ์คณาจารย์เข้าใช้ระบบการเรียนการสอนออนไลน์
สวส.4.1.3-14  แบบฟอร์มขอเปิดรายวิชาในระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (LMS)
สวส.4.1.3-15  สื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบ e-Learning ที่ผลิตได้เสร็จสมบูรณ์ ปี 2559
สวส.4.1.3-16  สื่อการเรียนการสอนมัลติมีเดีย (e-Courseware) ที่ผลิตเสร็จสมบูรณ์ในปีการศึกษา 2559
สวส.4.1.3.17  รายงานรายวิชา ที่มีจำนวนกิจกรรมมากที่สุด 5 อันดับ
สวส.4.1.3-18  รายงานจำนวนครั้งของการเข้าใช้สื่อ e-Learning เพื่อการเรียนการสอน
สวส.4.1.3-19  สี่อ Video on Demand ที่ผลิตเสร็จสมบูรณ์ในปีการศึกษา 2559
สวส.4.1.3-20 แบบประเมินความพึงพอใจสื่อ Video on Demand
สวส.4.1.3-21  สรุปผลการประเมินผลความพึงพอใจของสี่อการเรียนรู้ Video on Demand
สวส.4.1.3-22  แบบประเมินความพึงพอใจ ระบบจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ (LMS)
สวส.4.1.3-23  ผลประเมินระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (LMS)
สวส.4.1.3-24  แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์
สวส.4.1.3-25  ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ฯ 
สวส.4.1.3-26   รายงานการประชุมการประกันคุณภาพ ครั้งที่ 3-59
สวส.4.1.3-27  ภาพการประชุมครั้งที่3 การประเมินความพึงพอใจของนศและอาจารย์ฯ

4. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมของการเรียนการสอนทางไกล

สวส.4.1.4-28  แนวทางแก้ไข สนับสนุนและแผนการพัฒนาส่งเสริมปรับปรุงจากข้อเสนอแนะ
สวส.4.1.4-29  รายงานการประชุม KPI ครั้งที่ 4-59 
สวส.4.1.4-30  ภาพการประชุมครั้งที่4 ผลการดำเนินงานปี 2559
สวส.4.1.4-31  ระบบและกลไกการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

5. มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการเรียนการสอนทางไกล โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน สามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน

สวส.4.1.5-32  แนวปฏิบัติที่ดี การถ่ายทำรายการโทรทัศน์จากระบบ SD เป็น HD

จุดเด่น

  1. มีการพัฒนา และปรับปรุงระบบการเรียนการสอนทางไกลอย่างเป็นรูปธรรม มีการรายงานผลการปรับปรุงแก้ไขอย่างชัดเจน
  2. มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม

จุดที่ควรพัฒนา

  1. ควรมีการพัฒนาบุคลากร ในด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
  2. การประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนการสอนทางไกลเชิงรุกยังไม่เข้มแข็ง

ผู้รับผิดชอบ

ชื่อ

ตำแหน่ง

ผู้กำกับตัวบ่งชี้ นายธนาวุฒิ  นิลมณี ผอ.สวส.
ผู้จัดเก็บข้อมูล/รายงาน นางสาวพัฒนาพร  ดอกไม้

นายมงคล  ชนะบัว

นักเอกสารสนเทศ

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ