ตัวบ่งชี้ 6.4  ระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายใน/2566

องค์ประกอบที่ 6 การกำกับติดตาม

ตัวบ่งชี้ 6.4  ระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายใน

ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ

เกณฑ์การประเมิน : ข้อ

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2 ข้อ
มีการดำเนินการ
3 ข้อ
มีการดำเนินการ
4-5 ข้อ
มีการดำเนินการ
6 ข้อ

 

ผลการดำเนินงาน :

1.มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของสำนัก ตั้งแต่ระดับงานและกลุ่ม และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

สำนักมีคู่มือการประกันคุณภาพภายใน ที่แสดงระบบและกลไกการประกันคุณภาพของสำนัก โดยมีงานประกันคุณภาพ ทำหน้าที่ดูแลประสานงานและสนับสนุน มีกลไกการเชื่อมโยงการดำเนินงานคุณภาพเป็นเครือข่ายจากระดับหน่วยงานถึงระดับบุคคล ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

2.มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโดยคณะกรรมการระดับนโยบาย และผู้บริหารสูงสุดของสำนัก

สำนักมีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญ โดยมีการตั้งคณะกรรมการในระดับสำนักโดยผู้อำนวยการสำนักเป็นประธาน และมอบหมายนโยบายการดำเนินงานไปยังกลุ่มโดยมีหัวหน้ากลุ่มเป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพระดับกลุ่ม มีการกำหนดนโยบายเป้าหมายคุณภาพ (KPI) ตามตัวบ่งชี้ ปีการศึกษา 2566 กำหนดค่าเป้าหมายสอดคล้องกับเป้าหมายของตัวชี้วัดความสำเร็จตามแผนยุทธศาสตร์   การพัฒนามหาวิทยาลัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และกำหนดผู้กำกับดูแลและรับผิดชอบรายตัวบ่งชี้ของหน่วยงานและมีการจัดทำแผนการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพ ปีการศึกษา 2566  ซึ่งการถ่ายทอดนโยบายแต่ละกลุ่มงานทำทั้งการประชุมและการแจ้งเวียนทราบถึงหน่วยงาน

3.มีการกำหนดตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของสำนัก

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการกำหนดตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของกลุ่มที่เป็นภารกิจหลักของสำนักครบทุกกลุ่มและภารกิจหลักของหน่วยงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

3.1 เชิญประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดตัวชี้วัดประกันคุณภาพปี ครั้งที่ 1/ 2566 เพื่อพิจารณากำหนดตัวและเกณฑ์ตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามภารกิจของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ปีการศึกษา 2566 โดยมีตัวบ่งชี้ดังนี้

ตัวบ่งชี้ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนทุกภารกิจด้านเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยสู่การเป็น มหาวิทยาลัยแห่งเทคโนโลยี นวัตกรรม และบูรณาการ โดยใช้มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ ด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านไอที

ตัวบ่งชี้ที่ 2 พัฒนาระบบบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองทุกการเปลี่ยนแปลง โดยมีผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านพัฒนาคลังข้อมูลกลาง

ตัวบ่งชี้ที่ 3 พัฒนาการสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้นอกห้องเรียน และการให้บริการทรัพยากรดิจิทัลสำ หรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านวิทยบริการ

ตัวบ่งชี้ที่ 4 ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม เพื่อการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี ด้านพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและผลิตสื่อโสตทัศน์

ตัวบ่งชี้ที่ 5 พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ ทางด้านเทคโนโลยีและความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ด้านการบริหารสำนัก

ตัวบ่งชี้ที่ 6 สนับสนุนการดำเนินงานบริหารของมหาวิทยาลัย

4.มีการกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสำนักมีการดำเนินการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพภายในตามระบบ และกลไกที่สำนักกำหนด ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณ

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในอย่างครบถ้วน ดังนี้

4.1 มีการประชุมกำกับติดตาม ส่งเสริมให้ทุกกลุ่มดำเนินงานประกันคุณภาพ  เชิญประชุมผลการดำเนินทุกกลุ่มกำหนดตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพตามอัตลักษณ์ของกลุ่ม และแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2566

4.2 มีการประชุมควบคุมการดำเนินงานเป็นไปตามคุณภาพ ให้ถือเป็นหน้าที่ของทุกหน่วยงานในการพัฒนาระบบและให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการซึ่งมีการดำเนินงานดังนี้

4.2.1 แต่งตั้งคณะกรรมการดูแลระบงงานประกันคุณภาพภายในสำนักวิทยบริการ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่ม และหัวหน้างาน เพื่อดำเนินการจัดทำประกันคุณภาพภายใน การวิเคราะห์ และกำหนดตัวบ่งชี้  การกำกับติดตาม การรายงานและประเมินผลการปฏิบัติงานตามตัวบ่งชี้เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน

4.2.2 มีการกำหนดนโยบายเป้าหมายคุณภาพ (KPI) ตามตัวบ่งชี้สกอ. ในระดับสำนัก   ปีการศึกษา 2566 กำหนดค่าเป้าหมายสอดคล้องกับเป้าหมายของตัวชี้วัดความสำเร็จตามแผนยุทธศาสตร์  การพัฒนามหาวิทยาลัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และกำหนดผู้กำกับดูแลและรับผิดชอบรายตัวบ่งชี้ของหน่วยงานและมีการจัดทำแผนการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพ ปีการศึกษา 2566

4.2.3 การตรวจสอบคุณภาพการดำเนินงานด้านการกำกับติดตามและตรวจสอบคุณภาพมีการดำเนินการดังนี้

การกำกับการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ถูกกำกับภายใต้ผู้กำกับตัวบ่งชี้ของทุกหน่วยงานโดยหน่วยงานปฏิบัติงานจะเป็นผู้รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้กำกับตัวบ่งชี้แต่ละระดับและรายงานต่อผู้บริหารทราบโดยหน่วยงานประกันคุณภาพเป็นผู้รวบรวมผลการดำเนินงานในภาพรวมเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงในรอบ 6 เดือน  และ 12 เดือน นอกจากนั้นหน่วยงานประกันคุณภาพจะเป็นผู้กำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนประกัน

4.3 การประเมินคุณภาพสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้นำแผนการตรวจประเมินคุณภาพของสำนักงาน ประกันคุณภาพที่กำหนดแผนการตรวจประเมินคุณภาพภายใน ประจำปี 2566 มาปรับเพื่อให้การตรวจประเมินคุณภาพภายในสอดคล้องกับแผนของมหาวิทยาลัยและรับผิดชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ตรวจประเมิน แล้วแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบตัวบ่งชี้เตรียมเอกสารหลักฐานในการประเมินให้ครบถ้วน เมื่อรับการประเมินคุณภาพภายในแล้ว งานประกันคุณภาพจะนำเสนอผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากผู้ประเมินต่อผู้บริหารและกรรมการประจำคณะ เพื่อรับทราบและมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง                นำข้อเสนอแนะไปทำแผนพัฒนา ปรับปรุงคุณภาพ ในปีถัดไป

5.มีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีการนำผลการประกันุณภาพการศึกษาภายในมาดำเนินงานมาปรับปรุงการทำงานและส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้

6.มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

สำนักมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการประกันคุณภาพภายในของสำนัก คือ  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และระบบรายงานการประกันคุณภาพของสำนัก เพื่อมีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้ สามารถนำไปใช้มนการพัฒนาผลการดำเนินงานในปีการศึกษาต่อไปได้

ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย

ค่าเป้าหมาย
(ประเด็น)

12 เดือน
(1 มิ.ย. 66 – 31 พ.ค. 67)

การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน

[   ]

[  ]

[ √ ]

ผล

คะแนน

ต่ำกว่าเป้าหมาย

เท่ากับเป้าหมาย

สูงกว่าเป้าหมาย

3

6

5

 

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

สวส.6.4.1-1 เล่มคู่มือการประกันคุณภาพภายในระดับหน่วยงาน ปีการศึกษา 2566 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สวส.6.4.2-1 คำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
สวส.6.4.3-1 ตัวบ่งชี้ตามพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนทุกภารกิจด้านเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยสู่การเป็น มหาวิทยาลัยแห่งเทคโนโลยี นวัตกรรม และบูรณาการ โดยใช้มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ ด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านไอที
สวส.6.4.3-2 ตัวบ่งชี้ตามพัฒนาระบบบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองทุกการเปลี่ยนแปลง โดยมีผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านพัฒนาคลังข้อมูลกลาง
สวส.6.4.3-3 ตัวบ่งชี้ตามพัฒนาการสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้นอกห้องเรียน และการให้บริการทรัพยากรดิจิทัลสำ หรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านวิทยบริการ
สวส.6.4.3-4 ตัวบ่งชี้ตามทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม เพื่อการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี ด้านพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและผลิตสื่อโสตทัศน์
สวส.6.4.3-5 ตัวบ่งชี้ตามพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ ทางด้านเทคโนโลยีและความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ด้านการบริหารสำนัก
สวส.6.4.3-6 ตัวบ่งชี้สนับสนุนการดำเนินงานบริหารของมหาวิทยาลัย
สวส.6.4.4-1 หนังสือเชิญประชุมกำหนดตัวชี้วัดประกันคุณภาพปี ครั้งที่ 1/ 2566
สวส.6.4.4-2 รายงานการประชุมประกันคุณภาพ สวส.ครั้งที่ 1/2566
สวส.6.4.5-1 ระบบติดตามการพัฒนาคุณภายใน (IQA)
สวส.6.4.5-2  ระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา
สวส.6.4.5-3 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

 

จุดเด่น
1. มีตัวบ่งชี้ครอบคลุมทุกภารกิจหลักของสำนัก
จุดที่ควรพัฒนา
1. การจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานที่เป็นระบบในบางภารกิจ ยังต้องพัฒนา

 

 

ผู้รับผิดชอบ ชื่อ ตำแหน่ง
ผู้กำกับตัวบ่งชี้ น.ส.อ้อยจริยา  พลับจีน หัวหน้า สำนักงานผู้อำนวยการ
ผู้จัดเก็บข้อมูล/รายงาน นายสาคร  พรมจันทรา เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการชำนาญการ