องค์ประกอบที่ 6 การกำกับติดตาม
ตัวบ่งชี้ 6.2 การบริหารความเสี่ยง
ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
เกณฑ์การประเมิน : ข้อ
คะแนน 1 | คะแนน 2 | คะแนน 3 | คะแนน 4 | คะแนน 5 |
มีการดำเนินการ 1 ข้อ |
มีการดำเนินการ
2 – 3 ข้อ |
มีการดำเนินการ
4 – 5 ข้อ |
มีการดำเนินการ 6 ข้อ |
มีการดำเนินการ
7 ข้อ |
เกณฑ์มาตรฐาน :
1.มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยงและการวางระบบควบคุมภายใน
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีการแต่งตั้งและเชิญประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและการวางระบบควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและการวางระบบควบคุมภายในของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ 021/2566 ลงวันที่ 26 กันยายน 2566 และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักวิทยบริการฯ ได้รับมอบหมายให้จัดทำงานบริหารความเสี่ยงฯ ของมหาวิทยาลัย (Agenda) ตามคำสั่งที่ 122/2567 ลงวันที่ 29 มกราคม 2567
2.มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงตามแนวทางของมหาวิทยาลัยฯ ที่วิเคราะห์ความเสี่ยงตามมาตรฐานของ COSO โดยประเภทของความเสี่ยง ได้แก่
- ความเสี่ยงด้านทรัพยากร อาทิ การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารสถานที่
- ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ หรือ กลยุทธ์ของสถาบัน
- ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
- ความเสี่ยงด้านการปฏิบัตาน เช่น ระบบประกันคุณภาพ กระบวนการบริหารหลักสูตร
- ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล
- ความเสี่ยงเหตุการณ์ภายนอก
ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงของสำนักวิทยบริการฯ แบ่งออกเป็น 3 เรื่องได้แก่
- ความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยทางด้านไซเบอร์
- ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนบุคลากรทักษะสูงด้านไอที
- ความเสี่ยงด้านความสำเร็จของการนำระบบไอทีไปใช้งานจริง และในข้อนี้มหาวิทยาลัยได้คัดเลือกและนำมาจัดทำเป็นความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย (Agenda) ในหัวข้อเรื่อง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน
3.มีการประเมินความเสี่ยง โอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีการประเมินความเสี่ยงโดยนำความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงที่ระบุไว้มาประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและประเมินระดับความรุนแรงหรือมูลค่าความเสียหายจากความเสี่ยง และจัดลำดับความเสี่ยง เพื่อให้เห็นถึงระดับความเสี่ยงทำให้สามารถกำหนดการควบคุมความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถวางแผนและ บริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการจัดลำดับความเสี่ยงสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้
1. ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ | |
2. การขาดแคลนบุคลากรทักษะสูงด้านไอที | |
3. ความสำเร็จของการนำระบบไอทีไปใช้งานจริง |
4.มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงโดยพิจารณาทุกภารกิจของสำนัก
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินโอกาสและผลกระทบความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง เพื่อนำมาจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงตามภารกิจหลักของหน่วยงาน จำนวน 1 แผน และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย (Agenda) จำนวน 1 แผน
5. มีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงฯ
สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงฯ ของหน่วยงานและแผนบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยฯ และมีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงฯ ทุกรอบ 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน โดยจะรายงานผลการดำเนินงานฯ ไปยังกองนโยบายและแผนตามรอบระยะเวลา สำหรับผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงได้รายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงฯ ของมหาวิทยาลัย
ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย |
12 เดือน (1 มิ.ย. 66 – 31 พ.ค. 67) |
การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน | |||
[ ] |
[ √ ] |
[ ] |
|||
ผล | คะแนน | ต่ำกว่าเป้าหมาย | เท่ากับเป้าหมาย |
สูงกว่าเป้าหมาย |
|
3 | 5 | 3 |
รายการหลักฐาน
1.มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยงและการวางระบบควบคุมภายใน
สวส 6.2.1-1 คำสั่งตั้งกรรมการความเสี่ยง 2567
สวส 6.2.1-2 คำสั่งแต่งตั้งกรรมการ (Agenda)
2.มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
สวส 6.2.2-1 การวิเคราะห์ความเสี่ยงหน่วยงาน
สวส 6.2.2-2 การวิเคราะห์ความเสี่ยง มทร.
3.มีการประเมินความเสี่ยง โอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง
สวส 6.2.3-1 การกำหนดเกณฑ์ประเมินความเสี่ยง
สวส 6.2.3-2 การประเมินความเสี่ยงฯ
4.มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงโดยพิจารณาทุกภารกิจของสำนัก
สวส 6.2.4-1 แผนบริหารความเสี่ยง สวส
สวส 6.2.4-2แผนบริหารความเสี่ยงมหาวิทยาลัย
5. มีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงฯ
สวส 6.2.5-1 การติดตามและรายงานผล-หน่วยงาน
สวส 6.2.5-2 การติดตามและรายงานผล มทร.
จุดเด่น
- มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงในประเด็นเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่สอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัย
- ผู้บริหารให้ความสำคัญในประเด็นความเสี่ยงที่ส่งผลต่อมหาวิทยาลัยและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
จุดที่ควรพัฒนา
-ไม่มี-
ผู้รับผิดชอบ | ชื่อ | ตำแหน่ง |
ผู้กำกับตัวบ่งชี้ | นายเชาวลิต สมบูรณ์พัฒนากิจ | ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ |
ผู้จัดเก็บข้อมูล/รายงาน | นางอุมาพร สรวลสรรค์ | ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ |