2556 IQA 4.2

ตัวบ่งชี้ที่ 4.2: ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบ VDO On Demand เพื่อการเรียนการสอนและวิชาชีพ

ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลผลิต
เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ประเด็น
มีการดำเนินการ
2 ประเด็น
มีการดำเนินการ
3 ประเด็น
มีการดำเนินการ
4 ประเด็น
มีการดำเนินการ
5 ประเด็น

เกณฑ์มาตรฐาน : ประเด็น

ผลการดำเนินงาน : ในปีการศึกษา 2556 มีผลการดำเนินงาน 4 ประเด็น ดังนี้

[×] 1. จำนวนเนื้อหาวิชา VDO On Demand เพื่อการเรียนการสอน ที่ผลิตได้เสร็จสมบูรณ์ประจำปีการศึกษา 2556 ไม่น้อยกว่า 5 วิชา

โดย กลุ่มงานพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ได้ดำเนินการผลิตเนื้อหารายวิชา Video On Demand เพื่อการเรียนการสอน เสร็จสมบูรณ์ในปีการศึกษา 2556 ทั้งสิ้นจำนวน 3 วิชา ดังนี้

  1. วิชาอาหารจานด่วนเพื่อสุขภาพ
  2. วิชาสร้างสรรค์งานผ้า 5
  3. วิชาขนมไทย
[√] 2. จำนวนเนื้อหา VDO On Demand หลักสูตรวิชาชีพ (บริการวิชาการแก่สังคม) ที่ผลิตใหม่แล้วเสร็จประจำปีการศึกษา 2556 ไม่น้อยกว่า 50 ตอน
โดย กลุ่มงานพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ได้ดำเนินการผลิตเนื้อหา Video On Demand หลักสูตรวิชาชีพ (บริการวิชาการแก่สังคม) เสร็จสมบูรณ์ในปีการศึกษา 2556 ทั้งสิ้นจำนวน 4 วิชา 59 ตอน แบ่งได้ดังนี้
  1. วิชาอาหารจานด่วนเพื่อสุขภาพ 4 ตอน
  2. วิชาสร้างสรรค์งานผ้า 2 ตอน
  3. วิชาขนมไทย 3 ตอน
  4. ตำรับอาหารไทยออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ 50 ตอน
[√] 3. จำนวนครั้งของการเข้าใช้ VDO On Demand เพื่อการเรียนการสอนประจำปีการศึกษา 2556 ไม่น้อยกว่า 140,000 ครั้ง
โดย จำนวนครั้งของการเข้าใช้ Video On Demand เพื่อการเรียนการสอนประจำปีการศึกษา 2556 จำนวนทั้งสิ้น 330,164 ครั้ง
[√] 4. มีการสำรวจความพึงพอผู้ใช้ระบบ VDO On Demand เพื่อการเรียนการสอนในชั้นเรียนในปีการศึกษา 2556 มีค่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 4.00
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับ 4.36 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับ 3.99
[×] 5. มีการปรับปรุงระบบ VDO On Demand ตามข้อเสนอแนะของผู้ใช้
 –
ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย

(ประเด็น)

4 เดือน

(1 มิ.ย.56-30 ก.ย.57)

10 เดือน

(1 มิ.ย. 55-31 มี.ค. 56)

12 เดือน

(1 มิ.ย. 55-31 พ.ค. 56)

การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน
12 เดือน งปม. 56

(1 ต.ค.56-30 ก.ย. 57)

6 เดือน งปม. 56

(1 ต.ค.56-31 มี.ค. 57)

9 เดือน งปม. 56

(1 ต.ค.56-31 พ.ค. 57)

[√] [ ] [ ]
ผล คะแนน ผล คะแนน ผล คะแนน ต่ำกว่าเป้าหมาย เท่ากับเป้าหมาย สูงกว่าเป้าหมาย
4 1 1 1 1 3 3

รายการหลักฐาน

1. จำนวนเนื้อหาวิชา VDO On Demand เพื่อการเรียนการสอน ที่ผลิตได้เสร็จสมบูรณ์ประจำปีการศึกษา 2556 ไม่น้อยกว่า 5 วิชา

2. จำนวนเนื้อหา VDO On Demand หลักสูตรวิชาชีพ (บริการวิชาการแก่สังคม) ที่ผลิตใหม่แล้วเสร็จประจำปีการศึกษา 2556 ไม่น้อยกว่า 50 ตอน
3. จำนวนครั้งของการเข้าใช้ VDO On Demand เพื่อการเรียนการสอนประจำปีการศึกษา 2556 ไม่น้อยกว่า 140,000 ครั้ง
4. มีการสำรวจความพึงพอผู้ใช้ระบบ VDO On Demand เพื่อการเรียนการสอนในชั้นเรียนในปีการศึกษา 2556 มีค่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 4.00
จุดแข็ง
  1. บุคลากรมีศักยภาพทางด้านความรู้ความสามารถด้านการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  2. มีความพร้อมทางด้านสถานที่และอุปกรณ์ในการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  3. เนื้อหาของสื่อที่ผลิตขึ้นในรูปแบบ Video On Demand สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงตามสาขาวิชาชีพต่างๆ
  4. มีเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลสื่อในรูปแบบ Video On Demand ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
  5. สื่อที่ผลิตได้ในรูปแบบ Video On Demand มีคุณภาพตามมาตรฐานการออกอากาศรายการโทรทัศน์
  6. อาจารย์ผู้ถ่ายทอดความรู้มีความสมัครใจในการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่สังคม

จุดควรพัฒนา

  1. มหาวิทยาลัยควรมีงบประมาณในการสนับสนุนให้แก่อาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  2. ปรับปรุงและขยายพื้นที่ห้องสตูดิโอให้มีพื้นที่กว้าง เพื่อเพิ่มความสะดวกในการบันทึกเทป
  3. จัดสรรอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบ Video On Demand ที่ผลิตขึ้นอย่างเพียงพอ
  4. ปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความสวยงาม น่าสนใจมากยิ่งขึ้น และปรับปรุงใหม่ทุกๆปี
  5. ปรับปรุงรูปแบบเว็บไซต์ ให้รองรับการเข้าถึงสื่อได้ตรงตามความต้องการ
  6. ควรมีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการให้บริการแก่ชุมชนและสังคมให้มากขึ้น
  7. ควรมีการเผยแพร่ตามช่องทางต่างๆ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานอื่นได้ทราบ
แนวทางแก้ไข สนับสนุนและแผนการพัฒนาส่งเสริมจากผลการประเมินตนเองตามมาตรฐาน มทร.พระนคร ปีการศึกษา 2556
แผน/โครงการ/กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ งปม./ระยะเวลาดำเนินการ
แผนส่งเสริม

  1. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของระบบการผลิตสื่อให้มีมาตรฐาน
  2. ส่งเสริมให้มีการประเมินผลคุณภาพสื่อที่ผลิตขึ้นในแต่ละรายการ
  3. ส่งเสริมการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา แก่อาจารย์หน่วยงานต่างๆ
  4. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของระบบการเผยแพร่สื่อให้มีมาตรฐาน
  5. ส่งเริมการเผยแพร่สื่อที่ผลิตขึ้นให้กว้างขวาง เพื่อประโยชน์แก่ประชาชน
– ผู้อำนวยการ สวท.- รองฝ่ายวิทยบริการและนวัตกรรมการศึกษา- งานพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา 2557
แผนพัฒนา

  1. จัดสรรงบประมาณให้แก่อาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  2. พัฒนาด้านอุปกรณ์และสถานที่ เพื่อผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
  3. พัฒนาแผนการอบรม ศึกษาดูงาน และให้ความรู้แก่บุคลากรที่รับผิดชอบการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้ทันสมัยและเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต
  4. พัฒนาระบบประเมินผลคุณภาพสื่อ ให้มีความสะดวกและเหมาะสมกับผู้ใช้มากยิ่งขึ้น
  5. พัฒนาการปรับปรุงระบบเผยแพร่สื่อที่ผลิตขึ้นให้มีคุณภาพ
  6. พัฒนาโครงการปรับปรุงรูปแบบเว็บไซต์ ให้รองรับการเข้าถึงสื่อได้ตรงตามความต้องการ
  7. พัฒนาโครงการเผยแพร่สื่อที่ผลิตขึ้นในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย
  8. จัดสรรงบประมาณในการผลิตสื่อเพื่อชุมชนและสังคม
  9. สนับสนุนงบประมาณด้านอุปกรณ์และสถานที่ เพื่อผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
2557