ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 การจัดการความรู้ กลุ่มวิทยบริการ
ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
เกณฑ์การประเมิน :
คะแนน 1 | คะแนน 2 | คะแนน 3 | คะแนน 4 | คะแนน 5 |
มีการดำเนินการ 1 ประเด็น | มีการดำเนินการ 2 ประเด็น | มีการดำเนินการ 3 ประเด็น | มีการดำเนินการ 4 ประเด็น | มีการดำเนินการ 5 ประเด็น |
เกณฑ์มาตรฐาน : ข้อ
ผลการดำเนินงาน : ในปีการศึกษา 2558 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
[√] 1. มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) เกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติตามภารกิจ และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรในกลุ่ม– กลุ่มวิทยบริการ มีการให้บริการยืมข้ามห้องสมุดสาขา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและถือเป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงมีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากทีมงานพัฒนาระบบห้องสมุดอัติโนมัติ WALAI AutoLib ม.วลัยลักษณ์โดยตรง เกิดทักษะกระบวนการในการปฏิบัติงาน และถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้ปฏิบัติงานภายในกลุ่ม ให้สามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
[√] 2. มีการรวบรวมความรู้ ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (มีทะเบียนความรู้อย่างน้อย 10 เรื่องต่อปี) เรื่องไม่ครบ– การนำความรู้ที่ได้รับจาการไปอบรม สัมมนา การศึกษาหาความรู้จากบล็อกห้องสมุดของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งแหล่งข้อมูลความรู้ที่ได้เผยแพร่ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และผ่านทางเว็บไซต์ ต่าง ๆ นำมารวบรวมเกิดองค์ความรู้ และเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร
[√] 3. มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง มาทำเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) นำไปสู่การปฏิบัติงานตามภารกิจของกลุ่ม อย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง– มีการนำความรู้และประสบการณ์มาพัฒนาระบบงานที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง ระบบคลังปัญญา มทร.พระนคร
[√] 4. มีการเผยแพร่ทะเบียนความรู้ และแนวปฏิบัติที่ดี ผ่านระบบ ICT หน้าเว็ปไซต์ของกลุ่มอย่างต่อเนื่องทุกปี– มีการนำความรู้ที่ได้รับจาการไปอบรม สัมมนา การศึกษาหาความรู้จากบล็อกห้องสมุดของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งแหล่งข้อมูลความรู้ที่ได้เผยแพร่ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และผ่านทางเว็บไซต์ต่าง ๆ นำมาจัดทำในรูปของทะเบียนความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีผ่านเว็บไซต์ห้องสมุด มทร.พระนคร
[√] 5. มีการประเมินผลการจัดการความรู้ ที่แสดงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุง– มีการประเมินผลการจัดการความรู้จากบุคลากรในกลุ่ม พร้อมกับรายงานปัญหา อุปสรรค พร้อมข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานต่อไป
ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย (ข้อ) |
12 เดือน (1 ส.ค. 58-31 ก.ค. 59) |
การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน | |||
[ ] | [ ] | [√] | |||
ผล | คะแนน | ต่ำกว่าเป้าหมาย | เท่ากับเป้าหมาย | สูงกว่าเป้าหมาย | |
4 | 5 | 5 |
รายการหลักฐาน
1. มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) เกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติตามภารกิจ และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรในกลุ่ม
สวส.2.3-1-1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ในองค์กร (KM) ในกลุ่มวิทยบริการ
สวส.2.3-1-2 ภาพกิจกรรมการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากผู้มีทักษะและประสบการณ์ตรง
สวส.2.3-1-3 ภาพกิจการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสำรวจทรัพยากรสารสนเทศ แบบ Offline (Inventory Module)
2. มีการรวบรวมความรู้ ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (มีทะเบียนความรู้อย่างน้อย 10 เรื่องต่อปี)
สวส.2.3-2-1 มีทะเบียนความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติ
3. มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง มาทำเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) นำไปสู่การปฏิบัติงานตามภารกิจของกลุ่ม อย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง
สวส.2.3-3-1 แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง ระบบคลังปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
สวส.2.3-3-2 ภาพประกอบการเป็นวิทยากรบรรยายเผยแพร่ความรู้ พร้อมภาพแสดงความต้องการของผู้เข้าร่วมอบรมและการนำไปใช้ประโยชน์
4. มีการเผยแพร่ทะเบียนความรู้ และแนวปฏิบัติที่ดี ผ่านระบบ ICT หน้าเว็ปไซต์ของกลุ่มอย่างต่อเนื่องทุกปี
5. มีการประเมินผลการจัดการความรู้ ที่แสดงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุง
สวส.2.3-5-1 รายงานสรุปผลการประเมินประสิทธิผลแผนการจัดการความรู้ ปี 2558 ของกลุ่มวิทยบริการ
สวส.2.3-5-2 รายงานสรุปผลการประเมินการจัดการความรู้ในองค์กร ปี 2558 ของกลุ่มวิทยบริการ
จุดเด่น
1. มีการหมุนเวียนบุคลากรให้ได้รับการอบรม สัมมนาอย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ และนำมาพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน
2. บุคลากรในหน่วยงานมีความรู้ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ที่ทันสมัย
จุดที่ควรพัฒนา
1. ต้องสร้างแรงผลักดัน และกระตุ้นให้บุคลากรในหน่วยงานแสวงหาความรู้ พร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน
ผู้รับผิดชอบ | ชื่อ | ตำแหน่ง |
ผู้กำกับตัวบ่งชี้ | นางสายธาร สุเมธอธิคม | บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ |
ผู้จัดเก็บข้อมูล/รายงาน | นางสาวโสภา ไทยลา | บรรณารักษ์ปฏิบัติการ |