ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 ระดับความสำเร็จของจำนวนผู้เข้าใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลผลิต
คำอธิบาย : ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLIB มาอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในด้านต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นหนังสือ ดูประวัติการยืม-คืน รวมทั้งสามารถยืมต่อผ่านระบบ OPAC ได้ตลอดเวลา ดังนั้น จำนวนการเข้าใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่เพิ่มขึ้น ย่อมแสดงถึงการให้บริการห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพ
เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 |
คะแนน 2 | คะแนน 3 | คะแนน 4 |
คะแนน 5 |
380,001-390,000ครั้ง |
390,001-400,000 ครั้ง | 400,001-410,000 ครั้ง | 410,001-420,000 ครั้ง |
มากกว่า 420,000 ครั้ง |
ผลการดำเนินงาน
ห้องสมุด มทร.พระนคร ประกอบไปด้วยห้องสมุด 4 วิทยาเขต คือ เทเวศร์ โชติเวช พระนครเหนือและพณิชยการพระนคร โดยทำหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนทางการศึกษา โดยใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของ Walai Autolib เพื่อให้การบริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด มทร.พระนคร สะดวก รวดเร็ว จาก Web Opac ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้รวบรวมสถิติ จำนวนผู้เข้าใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ 12 เดือน (สถิติตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2559 – กรกฎาคม 2560)
ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย (ครั้ง) |
10 เดือน |
การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน |
|||
[ ] |
[ ] |
[√] |
|||
ผล |
คะแนน |
ต่ำกว่าเป้าหมาย |
เท่ากับเป้าหมาย |
สูงกว่าเป้าหมาย |
|
400,001-410,000 |
มากกว่า 420,000 ครั้ง |
5 |
รายการหลักฐาน
สวส.3.2-1 สถิติจำนวนผู้เข้าใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
สวส.3.2-2 ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
จุดเด่น
1. ผู้บริหารให้การสนับสนุน โดยจัดให้มีงบประมาณในการต่อสัญญาบำรุงรักษาระบบอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
จุดที่ควรพัฒนา
1. ควรเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องสำหรับสืบค้นข้อมูลให้สามารถสืบค้นได้อย่างรวดเร็ว
2. ควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติให้มากขึ้น โดยเน้นบริการเชิงรุกครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบ |
ชื่อ |
ตำแหน่ง |
ผู้กำกับตัวบ่งชี้ | นางสายธาร สุเมธอธิคม | บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ |
ผู้จัดเก็บข้อมูล/รายงาน | นางบัวระภา กลยนีย์ | บรรณารักษ์ปฏิบัติการ |