2560 iqa 3.2

ตัวบ่งชี้ที่ 3.2  ระดับความสำเร็จของจำนวนผู้เข้าใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
ชนิดของตัวบ่งชี้ : 
ผลผลิต
คำอธิบาย
 ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLIB มาอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในด้านต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นหนังสือ ดูประวัติการยืม-คืน รวมทั้งสามารถยืมต่อผ่านระบบ OPAC ได้ตลอดเวลา ดังนั้น จำนวนการเข้าใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่เพิ่มขึ้น ย่อมแสดงถึงการให้บริการห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพ

เกณฑ์การประเมิน 

คะแนน 1

คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5

450,001-460,000  ครั้ง

460,001- 470,000  ครั้ง 470,001-480,000  ครั้ง 480,001-490,000  ครั้ง

มากกว่า 490,000 ครั้ง

ผลการดำเนินงาน

ห้องสมุด มทร.พระนคร ประกอบไปด้วยห้องสมุด 4 วิทยาเขต คือ เทเวศร์ โชติเวช พระนครเหนือและพณิชยการพระนคร โดยทำหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนทางการศึกษา โดยใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของ Walai Autolib เพื่อให้การบริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด มทร.พระนคร สะดวก รวดเร็ว จาก Web Opac ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้รวบรวมสถิติ  จำนวนผู้เข้าใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ 12 เดือน  (สถิติตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2560 – พฤษภาคม 2561)

ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย

ค่าเป้าหมาย
(ครั้ง)

12 เดือน
(1 มิ.ย. 60-31 พ.ค. 61)

การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน

[ ]

[ ]

[√]

ผล

คะแนน

ต่ำกว่าเป้าหมาย

เท่ากับเป้าหมาย

สูงกว่าเป้าหมาย

470,001- 480,000

มากกว่า 490,000 ครั้ง

5

รายการหลักฐาน

สวส.3.2-1   สถิติจำนวนผู้เข้าใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
สวส.3.2-2   ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
สวส.3.2-3   การเพิ่มประสิทธิภาพและประชาสัมพันธ์การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

จุดเด่น

  1. ทำการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องสำหรับสืบค้นข้อมูลให้สามารถสืบค้นได้อย่างรวดเร็ว ตามข้อจุดที่ควรพัฒนา ปี 2559 ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติได้สะดวกและรวดเร็วเพิ่มขึ้น
  2. ทำการประชาสัมพันธ์การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในช่องทางที่หลากหลาย เช่น การทำแผ่นพับและแผ่นป้ายการยืมต่อออนไลน์ และการแนะนำด้วยวาจา ฯลฯ
  3. คณาจารย์ มทร.พระนคร ได้ให้ความสำคัญการเรียนรู้สารสนเทศ จึงมีการร้องขอให้บุคลากรห้องสมุดทำการแนะนำ การใช้ห้องสมุดและการเรียนรู้สารสนเทศ ให้แก่นักศึกษาใหม่ หรือ ตามรายวิชาพื้นฐานที่เกี่ยวกับการเรียนรู้สารสนเทศ  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติได้ด้วยตนเอง

จุดที่ควรพัฒนา

  1. ควรส่งเสริมจัดทำโครงการฝึกอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ หลักสูตรส่งเสริมการรู้สารสนเทศ อย่างต่อเนื่องทุกภาคการศึกษา โดยเน้นบริการเชิงรุกตามกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาใหม่ หรือ ตามหลักสูตรการเรียนการสอนตามรายวิชาพื้นฐานที่เกี่ยวกับการเรียนรู้สารสนเทศ เพื่อคงคุณภาพและพัฒนาระดับความสำเร็จของจำนวนผู้เข้าใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติต่อไป

 

 ผู้รับผิดชอบ

ชื่อ

ตำแหน่ง

ผู้กำกับตัวบ่งชี้ นางสายธาร  สุเมธอธิคม บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ
ผู้จัดเก็บข้อมูล/รายงาน นางสาวกมร   สุประภารพงษ์ บรรณารักษ์ปฏิบัติการ