2559 IQA 3.3

ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 ระดับความสำเร็จของจำนวนผู้เข้าใช้ฐานข้อมูลอ้างอิงงานวิจัย
ชนิดของตัวบ่งชี้ :
ผลผลิต
คำอธิบาย 
ฐานข้อมูลอ้างอิงงานวิจัย หมายถึง ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้อ้างอิงงานวิจัยที่ สกอ.บอกรับให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครจำนวนทั้งสิ้น 13 ฐาน เช่น ABI//INFORM Complete, ProQuest Dissertation & Theses Global, IEE/IET Electronic Library (IEL) เป็นต้น เมื่อมีสถิติการเข้าใช้งานเพิ่มมากขึ้น ย่อมหมายถึงนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ มีการค้นคว้าทางวิชาการจากฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

เกณฑ์การประเมิน 

คะแนน 1

คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4

คะแนน 5

148,001-149,000 ครั้ง

149,001-150,000  ครั้ง 150,001-151,000  ครั้ง 151,001-152,000  ครั้ง

มากกว่า 152,000 ครั้ง

ผลการดำเนินงาน

ปีการศึกษา 2559 กลุ่มวิทยบริการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ บอกรับฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 13 ฐาน ผู้ใช้บริการประกอบด้วย นักศึกษา จำนวน 14,255 คน บุคลากร และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จำนวน 936 คน และมีการ login เพื่อใช้งานฐานข้อมูลทุกฐานจำนวน 178,875 ครั้ง (สถิติตั้งแต่เดือน สิงหาคม 59 – มิถุนายน 60) นอกจากนี้ยังได้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ห้องสมุดบอกรับและมีไว้ให้บริการในหลายช่องทาง พร้อมทั้งได้สอดแทรกการอบรมการใช้งานฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในโครงการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ และได้รับความอนุเคราะห์  จากอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาสารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า โดยให้นักศึกษาเข้าร่วมอบรมการใช้งานฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้าต่อไป

ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย

 

ค่าเป้าหมาย

(ครั้ง)

10 เดือน
(1 ส.ค. 59-31 พ.ค. 60)

การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน

[ ]

[ ]

[√]

ผล

คะแนน

ต่ำกว่าเป้าหมาย เท่ากับเป้าหมาย สูงกว่าเป้าหมาย

150,001-151,000

5

5

รายการหลักฐาน

สวส.3.3-1  สถิติจำนวนนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ปีการศึกษา 2559
สวส.3.3-2  สถิติการเข้าใช้งานฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ปีการศึกษา 2559
สวส.3.3-3  เว็บไซต์รายงานสถิติการเข้าใช้งานฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
สวส.3.3-4  ตัวอย่างภาพประกอบการอบรมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

จุดเด่น
1. ผู้บริหารเล็งเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนในการจัดสรรงบประมาณ เพื่อบอกรับฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่องทุกปี
2. บุคลากรห้องสมุดเข้ารับการอบรมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อย่างสม่ำเสมอ สามารถให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดที่ควรพัฒนา
1. ควรเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องสำหรับสืบค้นข้อมูลให้สามารถสืบค้นได้อย่างรวดเร็ว
2. ควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์การใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น โดยเน้นบริการเชิงรุกครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

 

 ผู้รับผิดชอบ

ชื่อ

ตำแหน่ง

ผู้กำกับตัวบ่งชี้ นางสายธาร  สุเมธอธิคม บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ
ผู้จัดเก็บข้อมูล/รายงาน นางสาวโสภา  ไทยลา บรรณารักษ์ปฏิบัติการ