2555 IQA 4.1

องค์ประกอบที่ 4 ภารกิจหลักด้านการบริการห้องสมุด
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลผลิต
เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
ดำเนินการ
ได้ครบตามเกณฑ์ 1 ประเด็น
ดำเนินการ
ได้ครบตามเกณฑ์ 2 ประเด็น
ดำเนินการ
ได้ครบตามเกณฑ์ 3 ประเด็น
ดำเนินการ
ได้ครบตามเกณฑ์ 4 ประเด็น
ดำเนินการ
ได้ครบตามเกณฑ์ 5 – 6 ประเด็น

เกณฑ์มาตรฐาน : ประเด็น

ผลการดำเนินงาน : ในปีการศึกษา 2555 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ ( ขีด √ หน้าข้อที่มีผลการดำเนินงาน)

[×] 1. มีค่าใช้จ่ายในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศต่อจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าไม่    น้อยกว่า 250 บาท ต่อ FTES โดยมีสูตรการคำนวณ ดังนี้
งบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ / จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES)
คำอธิบาย :
ค่าใช้จ่าย หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในรูปของตัวเงินทั้งจากงบประมาณแผ่นดิน และงบรายได้ หรืองบประมาณจากแหล่งอื่นๆ ที่ใช้สำหรับการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ ทั้งนี้ให้คิดตามปีงบประมาณ
ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการเรียนรู้ทุกประเภท
โดย ห้องสมุดในสังกัด สวท. ได้ดำเนินการคัดเลือกและจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้การบริการสารสนเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนโยบายจัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้เพียงพอและตรงตามความต้องการของผู้ใช้  ห้องสมุดเปิดกว้างให้ผู้ใช้ทั้งคณาจารย์ และนักศึกษา ตลอดจนบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ สามารถเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อจัดซื้อเข้าห้องสมุด ได้หลายช่องทาง ดังนี้
  1. ผ่านเว็บไซต์ของห้องสมุด
  2. บรรณารักษ์นำเสนอแคตตาล็อกให้อาจารย์คัดเลือก
  3. มีแบบฟอร์มให้ผู้ใช้กรอกเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศบริเวณเคาน์เตอร์ยืม-คืนของห้องสมุดทุกแห่ง

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ห้องสมุดได้รับงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 2,354,364.71  บาท จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES) ในปีการศึกษา 2555 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เท่ากับ 11,110.72 ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศต่อจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า ของห้องสมุด ในสังกัดสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงเท่ากับ 211.90  บาท/คน

รายการ หน่วย จำนวน
ตัวตั้ง งบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ บาท 2,354,364.71
ตัวหาร จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES) FTES 11,110.72
ผล ค่าใช้จ่ายจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศต่อ FTES บาท 211.90
เป้าหมาย ค่าใช้จ่ายจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศต่อ FTES บาท 250
[×] 2. มีค่าใช้จ่ายของการบริการห้องสมุดต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า มีจำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 2,000 บาท ต่อ FTES มีสูตรการคำนวณดังนี้
ค่าใช้จ่ายของบริการห้องสมุด / จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า
คำอธิบาย :
ค่าใช้จ่าย หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในรูปของตัวเงินที่ใช้ในการดำเนินงานห้องสมุด ทั้งนี้รวมถึงเงินเดือนและค่าจ้างบุคลากร ค่าใช้จ่ายในการจัดหาทรัพยากรห้องสมุด ค่าสาธารณูปโภค ค่าเสื่อม และค่าใช้สอยต่างๆ (แต่ไม่รวมค่าใช้จ่ายในงบลงทุน เช่น        ค่าครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง) ไม่ว่า ตัวเงินค่าใช้จ่ายนั้นจะมาจากแหล่งเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินนอกงบประมาณ และไม่ว่าการตั้งงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายนั้นๆ จะอยู่ภายใต้หน่วยงานใด้
โดย ในปีงบประมาณ 2555 ได้รับงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานห้องสมุด จำแนกได้ดังนี้
1. เงินเดือน 2,871,840.00 บาท
2 ค่าตอบแทน 235,800.00 บาท
3 ค่าจัดซื้อหนังสือ 1,718,103.71 บาท
4 ค่าจัดซื้อวารสารและหนังสือพิมพ์ 636,261.00 บาท
5 ค่าวัสดุสำนักงาน 614,507.81 บาท
6 ค่าจัดซื้อแผ่นข้อมูล RFID Label 506,300.00 บาท
รวมทั้งสิ้น 9,454,652.52 บาท
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES) ปีการศึกษา 2555 = 11,110.72
ดังนั้น ค่าใช้จ่ายของการบริการห้องสมุดต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า  เท่ากับ 9,454,652.52 ÷ 11,110.72 = 850.95
รายการ หน่วย จำนวน
ตัวตั้ง ค่าใช้จ่ายของการบริการห้องสมุด บาท 9,454,652.52
ตัวหาร จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES) FTES 11,110.72
ผล ค่าใช้จ่ายห้องสมุดต่อ FTES บาท 850.95
เป้าหมาย ค่าใช้จ่ายห้องสมุดต่อ FTES บาท 2,000
[√] 3. เวลาเฉลี่ยในการดำเนินการตั้งแต่รับทรัพยากรสารสนเทศและนำออกให้บริการ ต้องมีเวลาเฉลี่ยไม่มากกว่า 3 วันต่อ 1 รายการ มีสูตรการคำนวณ ดังนี้
จำนวนสารสนเทศที่นำออกให้บริการทั้งหมด / จำนวนวันที่รับมอบถึงวันที่นำออกให้บริการ
คำอธิบาย :
เวลาเฉลี่ย นับตั้งแต่วันที่ห้องสมุดได้รับทรัพยากรสารสนเทศแต่ละเล่ม/รายการ ผ่านขั้นตอนการลงทะเบียน การวิเคราะห์หมวดหมู่ จนถึงวันที่ทรัพยากรสารสนเทศออกให้บริการที่ชั้น ทั้งนี้ทรัพยากรสารสนเทศ ที่อยู่ระหว่างกำลังดำเนินการทุกขั้นตอน จะต้องสืบค้นในฐานข้อมูลได้ และสามารถทราบสถานภาพของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ได้
โดย  กลุ่มวิทยบริการประกอบไปด้วยห้องสมุด 4 แห่ง ได้แก่
  1. ห้องสมุดเทเวศร์
  2. ห้องสมุดโชติเวช
  3. ห้องสมุดพระนครเหนือ
  4. ห้องสมุดพณิชยการพระนคร

ดำเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้วยวิธีสอบราคาให้เป็นไปตามระเบียบพัสดุ ทั้งนี้ในการสอบราคาหนังสือในปีงบประมาณ 2555 ได้สรุปผลการจัดซื้อให้กับบริษัทที่ได้เข้าสอบราคา จำนวน 5 บริษัท ในช่วงเดือน เมษายน 2555 และได้ดำเนินการจัดส่งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2555 และจัดซื้อหนังสือรอบที่ 2 ด้วยวิธีตกลงราคากับศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงเดือนสิงหาคม 2555 ดังนั้น จำนวนทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด  มทร.พระนคร ที่ได้รับนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2555 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 จึงสรุปรวมได้ 2,241 ชื่อเรื่อง
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้ใช้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLIB พัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งปัญหาที่พบจากการใช้โปรแกรมยังคงมีอยู่มากโดยเฉพาะในส่วนของการพิมพ์รายงานการบันทึกข้อมูลในระบบของงานพัฒนาและงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อควบคุมระยะเวลาในการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ได้รับทรัพยากรจนถึงวันที่นำออกให้บริการไม่สามารถคำนวณออกมาได้อย่างชัดเจนด้วยโปรแกรม Walai AutoLIB ดังนั้นห้องสมุดจึงได้ทำแบบฟอร์มเพื่อควบคุมระยะเวลาในการดำเนินงานขึ้น โดยใช้ วันที่ เดือน ปี ที่ปรากฏในระบบจัดเก็บจากโปรแกรม Walai AutoLIB มาคำนวณหาเวลาเฉลี่ยในการดำเนินงาน
สรุปงานห้องสมุด มทร.พระนคร ใช้เวลาดำเนินการตั้งแต่รับทรัพยากรสารสนเทศและนำออกให้บริการเฉลี่ย 2.97 วัน ต่อ 1 ชื่อเรื่อง

รายการ หน่วย จำนวน
ตัวตั้ง จำนวนวันที่รับมอบถึงวันที่นำออกให้บริการ วัน 6,656
ตัวหาร จำนวนสารสนเทศที่นำออกให้บริการทั้งหมด รายการ 2,241
ผล เวลาเฉลี่ยในการดำเนินการต่อ 1 รายการ วัน 2.97
เป้าหมาย เวลาเฉลี่ยในการดำเนินการต่อ 1 รายการ วัน 3
[√] 4. มีปริมาณการยืมทรัพยากรสารสนเทศต่อจำนวนผู้ใช้บริการที่มีสิทธิ์ยืม ไม่น้อยกว่า 20 รายการต่อคน
ปริมาณการให้ยีมทรัพยากรสารสนเทศ / สมาชิกซึ่งมีสิทธิ์ยืมทรัพยกรสารสนเทศ
คำอธิบาย :
ผู้ใช้บริการที่มีสิทธิ์ยืม หมายถึง ผู้ใช้บริการที่มีชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลระบบบริการยืม-คืน
ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่ให้ยืมผ่านระบบบริการยืม-คืน
โดย ห้องสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib โดยให้บริการ ยืม-คืนในห้องสมุดทั้ง 4 สาขา คือ ห้องสมุดเทเวศร์ ห้องสมุดโชติเวช ห้องสมุดพณิชยการพระนคร และห้องสมุดพระนครเหนือ มีสถิติการยืมตามคอลเล็กชั่น ผ่านระบบห้องสมุด Walai AutoLibจำนวน 72,980 รายการ มีสถิติการยืมใช้ภายในห้องสมุด 74,840 รายการ และมีสถิติการยืมหนังสือ / วารสาร ออกนอกห้องสมุด (ยืมนอกระบบ (Walai Autolib) 1,457 รายการ
ดังนั้น สรุปสถิติการยืมทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมด จำนวน 149,277 รายการ โดยให้บริการแก่สมาชิกผู้มีสิทธิ์ยืม ได้แก่ นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัย จำนวน 7,305 คน
รายการ หน่วย จำนวน
ตัวตั้ง จำนวนการยืมทรัพยากรสารสนเทศ รายการ 149,277
ตัวหาร จำนวนสมาชิกที่มีสิทธิ์ยืมทรัพยากรสารสนเทศ คน 7,305
ผล ปริมาณการยืมต่อคน รายการ 20.44
เป้าหมาย ปริมาณการยืมต่อคน รายการ 20
[√] 5. มีปริมาณการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าร้อยละ 2  (เฉพาะฐานข้อมูลที่จัดซื้อ)  สูตรการคำนวณดังนี้
ร้อยละที่เพิ่มขึ้น = ((ปริมาณการสืบค้นต่อฐานในปีปัจจุบัน – ปริมาณการสืบค้นต่อฐานในปีที่ผ่านมา)*100) / ปริมาณการสืบค้นต่อฐานในปีที่ผ่านมา
คำอธิบาย :
ปริมาณการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น หมายถึง ปริมาณการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่อจำนวนผู้ใช้บริการต่อฐานของปีปัจจุบันเปรียบเทียบกับปริมาณการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่อจำนวนผู้ใช้บริการต่อฐานของปีที่ผ่านมา มีหน่วยนับเป็นครั้งต่อคนต่อฐาน
ฐานข้อมูลที่จัดซื้อ หมายถึง ฐานข้อมูลที่ห้องสมุดจัดซื้อเอง หรือจัดซื้อในลักษณะภาคีความร่วมมือ หรือจัดซื้อโดยหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนกิจการให้บริการของห้องสมุด 

โดย
  1. ปีการศึกษา 2555 งานห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศบอกรับฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 13 ฐาน ผู้ใช้บริการประกอบด้วย นักศึกษา บุคลากร และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จำนวน 12,764  คน และมีการ login เพื่อใช้ฐานข้อมูลทุกฐานจำนวน 133,970 ครั้ง (สถิติตั้งแต่เดือน มิถุนายน 55 – กุมภาพันธ์ 56) สถิติตั้งแต่เดือน มีนาคม – พฤษภาคม 2556 ยังไม่มีรายงานสถิติการเข้าใช้งาน
  2. ปีการศึกษา 2554 งานห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศบอกรับฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 13 ฐาน ผู้ใช้บริการประกอบด้วย นักศึกษา บุคลากร และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จำนวน 12,146 คน และมีการ login เพื่อใช้ฐานข้อมูลทุกฐานจำนวน 120,257 ครั้ง
วิธีการคำนวณ
ร้อยละที่เพิ่มขึ้น = [(133,970 ÷ (12,764 × 13) – (120,257 ÷ (12,146 × 13)] × 100 / [(120,257 ÷ (12,146 × 13)]
= [(0.8074 – 0.7616) × 100] / 0.7616
= 6.01
รายการ หน่วย จำนวน
ตัวตั้ง สถิติจำนวนสมาชิกนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ปี พ.ศ. 2555 คน 12,764
ตัวตั้ง จำนวนฐานข้อมูลทั้งสิ้น ปี 2555 ฐาน 13
ตัวตั้ง สถิติการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ปีการศึกษา 2555 ครั้ง 133,970
ตัวตั้ง สถิติจำนวนสมาชิกนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ปี พ.ศ. 2554 คน 12,146
ตัวตั้ง จำนวนฐานข้อมูลทั้งสิ้น ปี 2554 ฐาน 13
ตัวหาร สถิติการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ปีการศึกษา 2554 ครั้ง 120,257
ผล ร้อยละของปริมาณการใช้ฐานข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.01
เป้าหมาย ร้อยละของปริมาณการใช้ฐานข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2
[√] 6. มีการฝึกอบรมการใช้งานหรือกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่นักศึกษา โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของผู้ใช้บริการที่เข้าร่วมกิจกรรม และมีการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยมีระดับความพึงพอใจไม่ต่ำกว่า 4.00
โดย กลุ่มวิทยบริการ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเพิ่มพูนทักษะการรู้สารสนเทศให้แก่ผู้ใช้บริการ ประกอบด้วย
1. โครงการฝึกอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ หลักสูตรส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2555 โดยมีกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม คือ
1.1 แนะนำการใช้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ
1.2 แนะนำการสืบค้นสารสนเทศผ่าน Web OPAC
1.3 แนะนำการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลออนไลน์
มีเป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน  132  คน  ผลการดำเนินงาน  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเต็มเวลาทั้งสิ้น 125 คน คิดเป็นร้อยละ 94.70 และมีผลการประเมินความพึงพอใจในการอบรมครั้งนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.58 คิดเป็นร้อยละ 91.60
2. โครงการฝึกอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ หลักสูตรการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อการวิจัย ประจำปีการศึกษา 2555 โดยมีกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรม คือ
2.1 แนะนำและสาธิตวิธีการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลออนไลน์
2.2 ฝึกปฏิบัติการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลออนไลน์
มีเป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน  45 คน  ผลการดำเนินงานมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเต็มเวลาทั้งสิ้น 42 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33 และมีผลการประมินความพึงพอใจในการอบรมครั้งนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.68 คิดเป็นร้อยละ 93.60
ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย 

ค่าเป้าหมาย (ประเด็น) 4 เดือน 

(1 มิ.ย.55-30 ก.ย.55)

10 เดือน 

(1 มิ.ย. 55-31 มี.ค. 56)

12 เดือน 

(1 มิ.ย. 55-31 พ.ค. 56)

การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน
12 เดือน งปม. 55 

(1 ต.ค.55-30 ก.ย. 56)

6 เดือน งปม. 55 

(1 ต.ค.55-31 มี.ค. 56)

9 เดือน งปม. 55 

(1 ต.ค.55-31 พ.ค. 56)

[ ] [√] []
ผล คะแนน ผล คะแนน ผล คะแนน ต่ำกว่าเป้าหมาย เท่ากับเป้าหมาย สูงกว่าเป้าหมาย
4 1 1 3 3 4 4

รายการหลักฐาน

1. มีค่าใช้จ่ายในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศต่อจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าไม่    น้อยกว่า 250 บาท ต่อ FTES

สวท. 4.1-1-1 รายงานการขออนุมัติซื้อหนังสือ (หนังสือครั้งที่ 1 วิธีสอบราคา)

สวท. 4.1-1-2 รายงานการขออนุมัติซื้อหนังสือ (หนังสือครั้งที่ 2 วิธีพิเศษ)

สวท. 4.1-1-3 รายงานการขอจัดซื้อสิ่งพิมพ์ (วารสารวิชาการภาษาไทย ครั้งที่ 1)

สวท. 4.1-1-4 รายงานการขอจัดซื้อสิ่งพิมพ์  (วารสารวิชาการภาษาไทย ครั้งที่ 2)

สวท. 4.1-1-5 รายงานการขอจัดซื้อสิ่งพิมพ์ (วารสารต่างประเทศ) (วิธีพิเศษ)

สวท. 4.1-1-6 รายงานการขอซื้อวัสดุสิ่งพิมพ์  (หนังสือพิมพ์และวารสาร)

สวท. 4.1-1-7 ค่า FTES สรุปยอดจำนวนรวมนักศึกษา จำนวนหน่วยกิตรวมที่ลงทะเบียนของนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2555

สวท. 4.1-1-8 รายงานสรุปงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ ประจำปี 2555

2. มีค่าใช้จ่ายของการบริการห้องสมุดต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า มีจำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 2,000 บาท ต่อ FTES
3. เวลาเฉลี่ยในการดำเนินการตั้งแต่รับทรัพยากรสารสนเทศและนำออกให้บริการ ต้องมีเวลาเฉลี่ยไม่มากกว่า 3 วันต่อ 1 รายการ
4. มีปริมาณการยืมทรัพยากรสารสนเทศต่อจำนวนผู้ใช้บริการที่มีสิทธิ์ยืม ไม่น้อยกว่า 20 รายการต่อคน
5. มีปริมาณการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าร้อยละ 2  (เฉพาะฐานข้อมูลที่จัดซื้อ)
6.  มีการฝึกอบรมการใช้งานหรือกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการเรียนรู้ตลอด ชีวิตแก่นักศึกษา โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของผู้ใช้บริการที่เข้าร่วมกิจกรรม และมีการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยมีระดับความพึงพอใจไม่ ต่ำกว่า 4.00
จุดแข็ง
  1. มีกลไกการจัดสรรงบประมาณอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมให้กับทุกคณะ
  2. มีรูปแบบการให้บริการที่สอดคล้องความต้องการของผู้รับบริการ

จุดที่ควรพัฒนา

  1. ควรมีการปรับปรุงโปรแกรม Walai AutoLIB ให้สามารถบันทึกและควบคุมระยะเวลาในการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ได้รับทรัพยากรจนถึงวันที่นำออกให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. สวท.ควรเสนอมหาวิทยาลัยขอเพิ่มงบประมาณในการจัดซื้อหนังสือให้เพียงพอต่อความต้องการ

 

แนวทางแก้ไข สนับสนุนและแผนการพัฒนาส่งเสริมจากผลการประเมินตนเองตามมาตรฐาน มทร.พระนคร ปีการศึกษา 2555
แผน/โครงการ/กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ งปม./ระยะเวลาดำเนินการ
แผนส่งเสริม

  • ประชาสัมพันธ์ข่าวการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ ในหลายๆช่องทาง
– ผอ.สวท.
– รอง ผอ. ฝ่ายวิทยบริการและนวัตกรรมการศึกษา 

– งานวิทยบริการ

– งานห้องสมุด

 

ปี 2556
แผนพัฒนา 

  • จัดประชุมกลุ่มวิทยบริการเพื่อกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดให้ชัดเจน
ปี 2556