องค์ประกอบที่ 1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการเตรียมความพร้อมด้านกายภาพ
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
เกณฑ์การประเมิน :
คะแนน 1 | คะแนน 2 | คะแนน 3 | คะแนน 4 | คะแนน 5 |
มีการดำเนินการ 1 ประเด็น | มีการดำเนินการ 2 ประเด็น | มีการดำเนินการ 3 ประเด็น | มีการดำเนินการ 4 ประเด็น | มีการดำเนินการ 5 ประเด็น |
เกณฑ์มาตรฐาน : ข้อ
ผลการดำเนินงาน : ในปีการศึกษา 2558 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
[√] 1. มีระบบ และกลไก ด้านการเตรียมความพร้อมทางกายภาพมีระบบและกลไกโดยเริ่มจากระยะก่อนเปิดภาคเรียนจะมีการกำหนดเป้าหมายความพร้อมทางกายภาพ ด้วยการประชุมคณบดีและผู้บริหาร เพื่อรวบรวมและจัดสรรโครงการและกำหนดเป็นเป้าหมาย แล้วจึงทำการวางแผนการดำเนินงาน กำหนดตัวชี้วัดและการประเมินผลในแต่ละโครงการ และดำเนินการเตรียมความพร้อมตามที่วางแผนไว้ ต่อมาในช่วงระหว่างภาคเรียนจะมีการติดตามประเมินผลแต่ละโครงการตามตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ หากพบปัญหาก็จะดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษาก็จะมีการประเมินกระบวนการ และสรุปบทเรียนเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการ
[√] 2. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน ด้านการเตรียมความพร้อมทางกายภาพมีการดำเนินงานตามระบบ และกลไก ครบถ้วนทุกขั้นตอน โดยมีการติดตามการจัดซื้อครุภัณฑ์โดยการประชุมเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ รวมถึงการออกรายงานการประเมินผลตามตัวชี้วัด การออกรายงานต่าง ๆ เช่น จำนวนห้องเรียน จำแนกตามประเภทการใช้งาน การเข้าใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ เพื่อติดตามความพร้อมทางกายภาพ การใช้ห้องเรียนอย่างคุ้มค่า และให้การดำเนินการเป็นไปตามตัวชี้วัด จำนวนความพร้อมด้านกายภาพ มหาวิทยาลัยมีพื้นที่ให้บริการนักศึกษาทั้งสิ้น 131,455.28 ตร.ม. จำนวน 1,743 ห้อง จำแนกเป็นห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ 497 ห้อง, ห้องบริการนักศึกษา 388 ห้อง,ระเบียงทางเดิน 227 พื้นที่, ห้องสำหรับงานบริหาร 603 ห้อง, พื้นที่บริการทั่วไป 16 พื้นที่ และร้านค้า 12 พื้นที่รายละเอียดดูได้ที่ ระบบสารสนเทศการบริหารอาคาร มทร.พระนคร
[√] 3. มีการประเมินกระบวนการ และมีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมินการเตรียมความพร้อมทางกายภาพมีการประเมินกระบวนการโดยการใช้แบบประเมินกระบวนการเพื่อสอบถามต่อผู้เกี่ยวข้องทุกคณะหน่วยงาน จากนั้นนำผลสรุปไปปรับปรุงพัฒนาให้ระบบ จากการประเมินกระบวนการพบว่ามีปัญหาในการดำเนินการอยู่ 2 ประเด็นประกอบด้วย ประเด็นแรกขาดการมีส่วนร่วมจากทางคณะ และสาขาวิชา ประเด็นที่สอง ขาดข้อมูลการใช้ห้อง ทำให้การใช้งานห้องเรียนห้องปฏิบัติการ รวมถึงการจัดตารางเรียนไม่ได้ประสิทธิภาพ ไม่คุ้มค่า ซึ่งได้มีการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการด้วยการเพิ่มการมีส่วนร่วมของอาจารย์หัวหน้าสาขาวิชา ในกลไกการกำหนดเป้าหมายและติดตามผล และนำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการอาคารและสถานที่ (BIM – Building Information Management) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานห้องเรียนให้คุ้มค่า
[√] 4. ผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมของการเตรียมความพร้อมทางกายภาพมีการดำเนินการปรับปรุงตามที่ได้มีการร้องขอ รวมถึงการปรับปรุง ระบบ กลไก เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมจากคณะ และสาขาวิชา โดยการให้สาขาวิชาประชุมเพื่อรวบรวมความต้องการส่งต่อให้กับคณบดีคณะเพื่อนำความต้องการดังกล่าวเข้ามาที่ประชุมเพื่อกำหนดเป้าหมาย รวมทั้งการให้หัวหน้าสาขาวิชามีส่วนรับผิดชอบในการ การจัดซื้อครุภัณฑ์ การติดตามตัวชี้วัด
[√] 5. มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน สามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจนสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการรวบรวมข้อมูลด้านการเตรียมความพร้อมด้านกายภาพ (ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ฯลฯ) โดยพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารอาคาร มีการนำตารางสอนจากระบบทะเบียน การบันทึกข้อมูลห้องจากเจ้าของพื้นที่จริงตามแปลนอาคารมาใส่ในระบบ ข้อมูลที่ได้จากระบบนำมาวิเคราะห์ปริมาณการใช้งาน และประสิทธิภาพการใช้ห้อง ทำให้ทราบความต้องการห้องที่แท้จริง จำนวนห้องที่มีอยู่ จำนวนห้องที่ใช้ไป เพื่อเตรียมห้องให้เพียงพอต่อนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา เป็นแนวปฎิบัติที่ดีซึ่งไม่มีใครทำมาก่อนที่พัฒนาโปรแกรมให้สามารถคำนวณประสิทธิภาพการใช้ห้อง ให้เชื่อมโยงกับตารางสอนที่ใช้จริงของระบบทะเบียน
ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย (ข้อ) |
12 เดือน (1 ส.ค. 58-31 ก.ค. 59) |
การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน | |||
[ ] | [√] | [ ] | |||
ผล | คะแนน | ต่ำกว่าเป้าหมาย | เท่ากับเป้าหมาย | สูงกว่าเป้าหมาย | |
5 | 5 | 5 |
รายการหลักฐาน
1. มีระบบ และกลไก ด้านการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ
สวส.1.2-1-1 ระบบ และกลไล การเตรียมความพร้อมทางกายภาพ
2. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน ด้านการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ
สวส.1.2-2-2 จำนวนพื้นที่ห้องทั้งหมด, ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการและห้องบริการนักศึกษา
สวส.1.2-2-3 ภาพห้องปฎิบัติการมัลติมีเดีย
สวส.1.2-2-4 ภาพห้อง e-classroom ศูนย์พณิชยการพระนครศูนย์พระนครเหนือ
สวส.1.2-2-5 ภาพห้องเรียนภาพห้องปฎิบัติการห้องปฏิบัติการแมคคาทรอนิกส์ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
สวส.1.2-2-6 จำนวนห้องเรียนห้องปฎิบัติการ มีเพียงพอต่อการใช้เรียนการสอน
สวส.1.2-2-7 รายงานการประชุมคณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการฯ วิเคราะห์รายละเอียดงบประมาณรายจ่าย
สวส.1.2-2-8 รายงานแผนการจัดซื้อครุภัณฑ์
สวส.1.2-2-9 ครุภัณฑ์ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)
สวส.1.2-2-10 ครุภัณฑ์ห้องเรียนภาษา (Language Hub)
สวส.1.2-2-11 ครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติงานการออกแบบตามแบบจำลองด้วย MATLAB
สวส.1.2-2-12 โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
สวส.1.2-2-13 รายงานการใช้จ่ายงบประมาณ
สวส.1.2-2-14 รายงานผลการปฏิบัติการตามตัวชี้วัดการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ ปีการศึกษา 2558
3. มีการประเมินกระบวนการ และมีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมินการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ
สวส.1.2-3-15 แบบประเมินกระบวนการเตรียมความพร้อมด้านกายภาพ
สวส.1.2-3-16 รายงานการประเมินกระบวนการเตรียมความพร้อมด้านกายภาพ
สวส.1.2-3-17 ระบบ และกลไล การเตรียมความพร้อมทางกายภาพ (หลังจากประเมินกระบวนการ)
4. ผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมของการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ
สวส.1.2-4-18 ภาพห้องปฎิบัติการมัลติมีเดีย
สวส.1.2-4-19 ภาพห้อง e-classroom ศูนย์พณิชยการพระนคร ศูนย์พระนครเหนือ
สวส.1.2-4-20 ภาพห้องเรียน
สวส.1.2-4-21 ภาพห้องปฎิบัติการ ห้องปฏิบัติการแมคคาทรอนิกส์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
สวส.1.2-4-22 เปลี่ยนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และโปรเจคเตอร์ กระดานอัจฉริยะ (Smart-classroom)
5. มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน สามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน
สวส.1.2-5.23 แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการเรียนการสอนด้านกายภาพ
สวส.1.2-5-24 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารอาคารและสถานที่
สวส.1.2-5-25 เข้าร่วมประกวดแนวปฏิบัติที่ดี เป็นที่ยอมรับในการประชุมเครือข่ายการจัดการความรู้ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
สวส.1.2-5-26 ผลการประกวดแนวปฎิบัติที่ดี ได้รับรางวัลการประกวดแนวปฎิบัติที่ดี เรื่องชุมชนนักปฎิบัติ สู่การจัดการความรู้ในศตวรรษที่ 21
จุดเด่น
- คณะ และสาขาวิชา มีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการตั้งแต่ต้นของกระบวนการ
- มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ และสนับสนุนการเรียนการสอน
จุดที่ควรพัฒนา
- พื้นที่ของมหาวิทยาัลที่มีจำกัด ควรจะขยายพื้นที่การให้บริการของมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น
ผู้รับผิดชอบ | ชื่อ | ตำแหน่ง |
ผู้กำกับตัวบ่งชี้ | น.ส.เพชราภรณ์ เพ็ชรแก้ว | หัวหน้ากลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ |
ผู้จัดเก็บข้อมูล/รายงาน | นายปาโมกข์ รัตนตรัยาภิบาล | หัวหน้างานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ |