2557 IQA 1.2

องค์ประกอบที่ 1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2   สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการเตรียมความพร้อมด้านกายภาพ

ชนิดตัวบ่งชี้  : กระบวนการ

เกณฑ์การประเมิน  :

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ประเด็น มีการดำเนินการ 2 ประเด็น มีการดำเนินการ 3 ประเด็น มีการดำเนินการ 4 ประเด็น มีการดำเนินการ 5 ประเด็น

เกณฑ์มาตรฐาน : ข้อ

ผลการดำเนินงาน : ในปีการศึกษา 2557 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

[√] 1. มีระบบ และกลไก ด้านการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ

มีระบบและกลไกโดยเริ่มจากระยะก่อนเปิดภาคเรียนจะมีการกำหนดเป้าหมายความพร้อมทางกายภาพ ด้วยการประชุมคณบดีและผู้บริหาร เพื่อรวบรวมและจัดสรรโครงการและกำหนดเป็นเป้าหมาย แล้วจึงทำการวางแผนการดำเนินงาน กำหนดตัวชี้วัดและการประเมินผลในแต่ละโครงการ และดำเนินการเตรียมความพร้อมตามที่วางแผนไว้ ต่อมาในช่วงระหว่างภาคเรียนจะมีการติดตามประเมินผลแต่ละโครงการตามตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ หากพบปัญหาก็จะดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษาก็จะมีการประเมินกระบวนการ และสรุปบทเรียนเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการ

[√] 2. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน ด้านการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ

มีการดำเนินงานตามระบบ และกลไก ครบถ้วนทุกขั้นตอน โดยมีการติดตามการจัดซื้อครุภัณฑ์โดยการประชุมเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ รวมถึงการออกรายงานการประเมินผลตามตัวชี้วัด การออกรายงานต่าง ๆ เช่น จำนวนห้องเรียน จำแนกตามประเภทการใช้งาน การเข้าใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ เพื่อติดตามความพร้อมทางกายภาพ การใช้ห้องเรียนอย่างคุ้มค่า และให้การดำเนินการเป็นไปตามตัวชี้วัด

[√] 3. มีการประเมินกระบวนการ และมีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมินการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ

มีการประเมินกระบวนการโดยการใช้แบบประเมินกระบวนการเพื่อสอบถามต่อผู้เกี่ยวข้องทุกคณะหน่วยงาน จากนั้นนำผลสรุปไปปรับปรุงพัฒนาให้ระบบ จากการประเมินกระบวนการพบว่ามีปัญหาในการดำเนินการอยู่ 2 ประเด็นประกอบด้วย ประเด็นแรกขาดการมีส่วนร่วมจากทางคณะ และสาขาวิชา ประเด็นที่สอง ขาดข้อมูลการใช้ห้อง ทำให้การใช้งานห้องเรียนห้องปฏิบัติการ รวมถึงการจัดตารางเรียนไม่ได้ประสิทธิภาพ ไม่คุ้มค่า ซึ่งได้มีการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการด้วยการเพิ่มการมีส่วนร่วมของอาจารย์หัวหน้าสาขาวิชา ในกลไกการกำหนดเป้าหมายและติดตามผล และนำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการอาคารและสถานที่ (BIM – Building Information Management) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานห้องเรียนให้คุ้มค่า

[√] 4. ผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมของการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ

มีการดำเนินการปรับปรุงตามที่ได้มีการร้องขอ รวมถึงการปรับปรุง ระบบ กลไก เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมจากคณะ และสาขาวิชา โดยการให้สาขาวิชาประชุมเพื่อรวบรวมความต้องการส่งต่อให้กับคณบดีคณะเพื่อนำความต้องการดังกล่าวเข้ามาที่ประชุมเพื่อกำหนดเป้าหมาย รวมทั้งการให้หัวหน้าสาขาวิชามีส่วนรับผิดชอบในการ การจัดซื้อครุภัณฑ์ การติดตามตัวชี้วัด

[√] 5. มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน สามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการรวบรวมข้อมูลด้านการเตรียมความพร้อมด้านกายภาพ (ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ฯลฯ) โดยพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารอาคาร มีการนำตารางสอนจากระบบทะเบียน  การบันทึกข้อมูลห้องจากเจ้าของพื้นที่จริงตามแปลนอาคารมาใส่ในระบบ  ข้อมูลที่ได้จากระบบนำมาวิเคราะห์ปริมาณการใช้งาน และประสิทธิภาพการใช้ห้อง ทำให้ทราบความต้องการห้องที่แท้จริง จำนวนห้องที่มีอยู่ จำนวนห้องที่ใช้ไป เพื่อเตรียมห้องให้เพียงพอต่อนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา เป็นแนวปฎิบัติที่ดีซึ่งไม่มีใครทำมาก่อนที่พัฒนาโปรแกรมให้สามารถคำนวณประสิทธิภาพการใช้ห้อง ให้เชื่อมโยงกับตารางสอนที่ใช้จริงของระบบทะเบียน

ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย

ค่าเป้าหมาย
(ข้อ)
12 เดือน
(1 ส.ค. 57-31 ก.ค. 58)
การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน
[ ] [ ] [√]
ผล คะแนน ต่ำกว่าเป้าหมาย เท่ากับเป้าหมาย สูงกว่าเป้าหมาย
4  5  5

รายการหลักฐาน

1. มีระบบ และกลไก ด้านการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ

สวท.1.2-1-1 ระบบ และกลไล การเตรียมความพร้อมทางกายภาพ

2. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน ด้านการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ

สวท.1.2-2-1 รายงานการประชุมคณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการฯ วิเคราะห์รายละเอียดงบประมาณรายจ่าย
สวท.1.2-2-2 รายงานแผนการจัดซื้อครุภัณฑ์
สวท.1.2-2-3 ง. 4 ครุภัณฑ์ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)
สวท.1.2-2-4 ง. 4 ครุภัณฑ์ห้องเรียนภาษา (Language Hub)
สวท.1.2-2-5 ง. 4 ครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติงานการออกแบบตามแบบจำลองด้วย MATLAB
สวท.1.2-2-6 รายงานการใช้จ่ายงบประมาณ
สวท.1.2-2-7 รายงานผลการปฏิบัติการตามตัวชี้วัดการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ ปีการศึกษา 2557

3. มีการประเมินกระบวนการ และมีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมินการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ

สวท.1.2-3-1 แบบประเมินกระบวนการเตรียมความพร้อมด้านกายภาพ
สวท.1.2-3-2 รายงานการประเมินกระบวนการเตรียมความพร้อมด้านกายภาพ
สวท.1.2-3-3 ระบบ และกลไล การเตรียมความพร้อมทางกายภาพ (หลังจากประเมินกระบวนการ)

4. ผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมของการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ

สวท.1.2-4-1 ภาพห้องปฎิบัติการมัลติมีเดีย
สวท.1.2-4-2 ภาพห้อง e-classroom ศูนย์พณิชยการพระนคร   ศูนย์พระนครเหนือ
สวท.1.2-4-3 ภาพห้องเรียน
สวท.1.2-4-4 ภาพห้องปฎิบัติการ  ห้องปฏิบัติการแมคคาทรอนิกส์  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
สวท.1.2-4-5 เปลี่ยนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และโปรเจคเตอร์  กระดานอัจฉริยะ (Smart-classroom)

5. มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการเตรียมความพร้อมทางกายภาพ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน สามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน

สวท.1.2-5.1 แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการเรียนการสอนด้านกายภาพ
สวท.1.2-5-2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารอาคารและสถานที่
สวท.1.2-5-3 เข้าร่วมประกวดแนวปฏิบัติที่ดี เป็นที่ยอมรับในการประชุมเครือข่ายการจัดการความรู้ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 

จุดเด่น

  1. คณะ และสาขาวิชา มีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการตั้งแต่ต้นของกระบวนการ
  2. มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ และสนับสนุนการเรียนการสอน

จุดที่ควรพัฒนา

  1. พื้นที่ของมหาวิทยาัลที่มีจำกัด ควรจะขยายพื้นที่การให้บริการของมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น

 

ผู้รับผิดชอบ ชื่อ ตำแหน่ง
ผู้กำกับตัวบ่งชี้  น.ส.เพชราภรณ์  เพ็ชรแก้ว  หัวหน้ากลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้จัดเก็บข้อมูล/รายงาน  นายปาโมกข์  รัตนตรัยาภิบาล หัวหน้างานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ