องค์ประกอบที่ 6 การกำกับติดตาม
ตัวบ่งชี้ 6.2 การบริหารความเสี่ยง
ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
เกณฑ์การประเมิน : ข้อ
คะแนน 1 | คะแนน 2 | คะแนน 3 | คะแนน 4 | คะแนน 5 |
มีการดำเนินการ 1 ข้อ |
มีการดำเนินการ
2 – 3 ข้อ |
มีการดำเนินการ
4 – 5 ข้อ |
มีการดำเนินการ 6 ข้อ |
มีการดำเนินการ
7 ข้อ |
เกณฑ์มาตรฐาน :
1.มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยงและการวางระบบควบคุมภายใน
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีการแต่งตั้งและเชิญประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและการวางระบบควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามหนังสือที่ อว 0652.12/882 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและการวางระบบควบคุมภายในของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ 014/2565 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2565 เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงงและการวางระบบควบคุมภายในของสำนักวิทยบริการฯ เป็นไปตามมาตรฐาน
2.มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงตามแนวทางของมหาวิทยาลัยฯ ที่วิเคราะห์ความเสี่ยงตามมาตรฐานของ COSO โดยจำแนกความเสี่ยง 4 ด้าน ได้แก่
2.1 ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ คือ ความเสี่ยงที่ส่งผลให้การดำเนินงานไม่บรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ เช่น ทิศทางการดำเนินงานที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ตามแผนต่าง ๆ ภาพลักษณ์ของหน่วยงาน การตอบสนองความต้องการของสังคม/ชุมชน/ผู้รับบริการ เป็นต้น
2.2 ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการดำเนินงานและส่งผลต่อ ความสำเร็จของงาน เช่น การวางแผน/ขั้นตอนการดำเนินงานไม่เหมาะสม ขาดความร่วมมือ ปฏิบัติงานผิดพลาด/ล่าช้า ขาดข้อมูลสนับสนุน ขาดบุคลากร เป็นต้น
2.3 ความเสี่ยงด้านการเงิน คือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เช่น วงเงินงบประมาณที่ตั้งไว้ไม่เพียงพอ ราคาวัสดุอุปกรณ์ปรับเพิ่มขึ้นการจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ เป็นต้น
2.4 ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย/ระเบียบ คือ ความเสี่ยงที่อาจเกิดการไม่ปฏิบัติตามกฎ/ระเบียบ ได้แก่ การไม่ดำเนินงานให้เสร็จครบถ้วนตามกำหนดสัญญา การดำเนินงานไม่เป็นไปตามข้อตกลง บุคลากรไม่ยอมรับและไม่ทำตามกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงใหม่ เป็นต้น
จากนั้นหน่วยงานได้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงได้จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่
- ความเสี่ยงด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอน MOOC
- ความเสี่ยงด้านผู้ใช้บริการห้องสมุดที่ยืมทรัพยากรสารสนเทศแล้วไม่ส่งคืน
- ความเสี่ยงเรื่องกระบวนการดำเนินงานทางด้านเอกสาร
- การพัฒนาระบบสารสนเทศไม่เป็นไปตามแผน
- ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการครุภัณฑ์ของหน่วยงาน
3.มีการประเมินความเสี่ยง โอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง
สำนักวิทยบริการฯ ได้นำผลการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงนำมาประเมินความเสี่ยงดังนี้
- ประเมินระดับของโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและระดับผลกระทบของความเสี่ยงก่อนการบริหารความเสี่ยง
- ประเมินแนวทางควบคุม ระบุการแก้ปัญหาที่มีอยู่แล้วของแต่ละภารกิจ เพื่อลดหรือควบคุมความเสี่ยง และหาลำดับความเสี่ยงสูงที่ยังไม่สามารถลดความเสี่ยงได้
4.มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงโดยพิจารณาทุกภารกิจของสำนัก
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงตามภารกิจหลักของหน่วยงาน จำนวน 5 เรื่อง
5.มีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานต่อผู้บริหาร ปีละ 2 ครั้ง
สำนักวิทยบริการฯ มีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงและรายงานต่อที่ประชุมผู้บริหารสำนักและมหาวิทยาลัยปีละ 2 ครั้ง
ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย |
12 เดือน (1 มิ.ย. 65 – 31 พ.ค. 66) |
การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน | |||
[ ] |
[ √ ] |
[ ] |
|||
ผล | คะแนน | ต่ำกว่าเป้าหมาย | เท่ากับเป้าหมาย |
สูงกว่าเป้าหมาย |
|
3 | 5 | 3 |
รายการหลักฐาน
รหัสหลักฐาน | รายการ |
สวส.6.2.1-1 | คำสั่งแต่งตั้ง |
สวส.6.2.2-1 | การวิเคราะห์ความเสี่ยง |
สวส.6.2.3-1 | เกณฑ์ประเมินความเสี่ยง |
สวส.6.2.3-2 | งานสำนักงานผู้อำนวยการ |
สวส.6.2.3-3 | งานกลุ่มเครือข่ายคอมพิวเตอร์ |
สวส.6.2.3-4 | งานกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ |
สวส.6.2.3-5 | งานกลุ่มพัฒนานวัตกรรมฯ |
สวส.6.2.3-6 | งานกลุ่มวิทยบริการ |
สวส.6.2.4-1 | แผนบริหารความเสี่ยง |
สวส.6.2.5-1 | การรายงานความเสี่ยง |
สวส.6.2.5-2 | รายงานความเสี่ยงของหน่วยงาน |
จุดเด่น | |
1. | มีการวิเคราะห์และบริหารความเสี่ยงโดยครอบคลุมกับภารกิจหลักของหน่วยงาน |
จุดที่ควรพัฒนา | |
1. | ควรมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่มาจากแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานหลัก |
ผู้รับผิดชอบ | ชื่อ | ตำแหน่ง |
ผู้กำกับตัวบ่งชี้ | นายเชาวลิต สมบูรณ์พัฒนากิจ | ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ |
ผู้จัดเก็บข้อมูล/รายงาน | นางอุมาพร สรวลสรรค์ | ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ |