ตัวบ่งชี้ 5.3 การสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีและมีความปลอดภัยในสำนักวิทยบริการฯ
ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
เกณฑ์การประเมิน :
คะแนน 1 | คะแนน 2 | คะแนน 3 | คะแนน 4 | คะแนน 5 |
มีการดำเนินการ 1 ข้อ |
มีการดำเนินการ 2 ข้อ |
มีการดำเนินการ 3 ข้อ |
มีการดำเนินการ 4 ข้อ |
มีการดำเนินการ 5 ข้อ |
ผลการดำเนินงาน :
1.การสำรวจ คัดแยก ของที่จำเป็นต้องใช้งานออกจากกันและทำการขจัดของที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานโดยทำให้ถูกขั้นตอนของหน่วยงาน
การค้นหา แยกสิ่งที่อยู่รวมกัน เช่น สิ่งของ เอกสาร อุปกรณ์ เครื่องมือ ซึ่งมีส่วนต่อผลสำเร็จของงานที่บุคลากรปฏิบัติงานอยู่ และจำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานออกจากกัน และสิ่งของที่ไม่มีความจำเป็นในการทำงาน สามารถสะสางได้ทันที และสามารถนำอุปกรณ์ต่างๆ ออกมาใช้งานได้สะดวกต่อการจัดวาง เช่น เอกสารที่ไม่จำเป็นต้องใช้งาน เป็นต้น ให้เป็นไปตามกระบวนการ ขั้นตอน การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการฯ
2.มีการจัดวางสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้งาน ให้สะดวกต่อการใช้งาน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้งาน
จึงควรจัดเก็บจัดวางของเหล่านี้ในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานหรือพื้นที่ที่ง่ายต่อการหยิบใช้ สิ่งของ เอกสาร อุปกรณ์ เครื่องมือ ซึ่งมีส่วนต่อผลสำเร็จของงานที่บุคลากรปฏิบัติงานอยู่ และจำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน อยู่เป็นประจำ โดยคำนึงถึงความปลอดภัย การทำงานที่ไม่มีอันตรายการเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงปราศจากโอกาสเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บในสำนักวิทยบริการฯ การจัดหมวดหมู่สิ่งของอย่างเป็นระบบและเป็นระเบียบ ย่อมทำให้เกิดความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ไม่มีสิ่งของกีดขวางทางเดิน เครื่องมือและอุปกรณ์สะอาดและถูกตรวจสอบอยู่เสมอ
3.มีการจัดพื้นที่ส่วนกลางให้มีความสะอาด สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
ด้านความสะอาดถูกสุขลักษณะ มีการดำเนินการ ดังนี้ มีแม่บ้านดูแลความสะอาดของอาคารสถานที่ ห้องน้ำ ห้องเรียน ห้องทำงาน อย่างสม่ำเสมอ มีถังขยะวางไว้ประจำอาคารเรียน อาคารสำนักงาน ในแต่ละชั้นในจุดที่เหมาะสมและเพียงพอ มีพื้นที่ส่วนกลางที่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสามารถเข้ามาใช้ได้ ทำให้พื้นที่ถูกใช้เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมของนักศึกษา ศิษย์เก่า และบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชนอย่างต่อเนื่อง
4.มีระบบรักษาความปลอดภัยภายในอาคาร
ด้านความปลอดภัยของอาคารสถานที่ มีการดำเนินการ ดังนี้ ติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณอาคารสำนักงาน อาคารเรียน และพื้นที่สุ่มเสี่ยง เช่น ที่จอดรถตามอาคารต่าง ๆ ตลาดนัดคาวบอย ฯลฯ เพื่อให้การดูแลรักษาความปลอดภัยอาคารและทรัพย์สินของทางราชการมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกพื้นที่โดยมีการดูแลตรวจสอบระบบและกล้องวงจรปิดให้มีสภาพพร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ มีการติดตั้งถังดับเพลิงในแต่ละชั้นเรียนและอาคารสำนักงาน อาคารปฏิบัติการ เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดอัคคีภัยได้อย่างทันท่วงที และมีการตรวจสอบอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ
5.ระดับความพึงพอใจในการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีและมีความปลอดภัยสำหรับพื้นที่ส่วนกลาง
มีการทำแบบสอบถามความพึงพอใจในการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีและมีความปลอดภัยสำหรับพื้นที่ส่วนกลาง โดยสอบถามบุคลากรภายในสำนัก
ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย (ข้อ) |
12 เดือน (1 มิ.ย. 61-31 พ.ค. 62) |
การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน | |||
[ ] | [ ] | [√ ] | |||
ผล | คะแนน | ต่ำกว่าเป้าหมาย | เท่ากับเป้าหมาย | สูงกว่าเป้าหมาย | |
3 | 5 | 5 |
รายการหลักฐาน
1.การสำรวจ คัดแยก ของที่จำเป็นต้องใช้งานออกจากกันและทำการขจัดของที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานโดยทำให้ถูกขั้นตอนของหน่วยงาน
5.3.1-1 แยกสิ่งของที่อยู่รวมกัน เช่น เอกสาร อุปกรณ์ เครื่องมือ ฯลฯ
2.มีการจัดวางสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้งาน ให้สะดวกต่อการใช้งาน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้งาน
5.3.2-2 จัดเก็บจัดวางอุปกรณ์ต่างๆในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานหรือพื้นที่ที่ง่ายต่อการหยิบใช้
3.มีการจัดพื้นที่ส่วนกลางให้มีความสะอาด สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
5.3.3-3 มีแม่บ้านดูแลความสะอาดของอาคารสถานที่เช่น ห้องน้ำ
5.3.3-4 จัดวางถังขยะให้เพียงพอต่อการใช้งาน มีพื้นที่ส่วนกลางที่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสามารถเข้ามาใช้ได้
4.มีระบบรักษาความปลอดภัยภายในอาคาร
5.3.4-5 ติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณอาคารสำนักงาน อาคารเรียน และพื้นที่สุ่มเสี่ยง
5.3.4-6 มีการติดตั้งถังดับเพลิงในแต่ละชั้นเรียนและอาคารสำนักงาน อาคารปฏิบัติการ
5.ระดับความพึงพอใจในการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีและมีความปลอดภัยสำหรับพื้นที่ส่วนกลาง
5.3.5-7 แบบสอบถามการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีและมีความปลอดภัยในสำนักวิทยบริการฯ
5.3.5-8 สรุปแบบสอบถามการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีและความปลอดภัยในสำนักวิทยบริการฯ
จุดเด่น
1. มีการจัดพื้นที่ส่วนกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ นักศึกษาและบุคลากร ที่เข้ามาใช้ภายในตึกสำนักวิทยฯ
และมีความสะอาดและถูกสุขลักษณะ สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
2. มีระบบรักษาความปลอดภัยภายในอาคาร เช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิด การติดตั้งถังดับเพลิง
อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เป็นต้น
จุดที่ควรพัฒนา
1. การจัดวางสิ่งของที่จำเป็น ยังไม่พร้อมและไม่สะดวกต่อการใช้งาน ในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน
2. ยังไม่มีกระบวนการกำจัดของที่ไม่ใช้และของที่ไม่มีค่าทิ้งไป
ผู้รับผิดชอบ | ชื่อ | ตำแหน่ง |
ผู้กำกับตัวบ่งชี้ | น.ส.อ้อยจริยา พลับจีน | หัวหน้า สำนักงานผู้อำนวยการ |
ผู้จัดเก็บข้อมูล/รายงาน |
น.ส.ธันยพร พิสิฐอมรชัย |
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ปฏิบัติการ |