ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งสนับสนุนทางการศึกษา (เช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ สภาพแวดล้อมด้านการเรียนรู้ อุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็น และเหมาะสม)
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
เกณฑ์การประเมิน :
คะแนน 1 | คะแนน 2 | คะแนน 3 | คะแนน 4 | คะแนน 5 |
มีการดำเนินการ 1 ประเด็น | มีการดำเนินการ 2 ประเด็น | มีการดำเนินการ 3 ประเด็น | มีการดำเนินการ 4 ประเด็น | มีการดำเนินการ 5 ประเด็น |
เกณฑ์มาตรฐาน : ข้อ
ผลการดำเนินงาน : ในปีการศึกษา 2557 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
ห้องสมุด มทร.พระนคร ประกอบไปด้วยห้องสมุด 4 วิทยาเขต คือ เทเวศร์ โชติเวช พระนครเหนือและพณิชยการพระนคร โดยทำหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนทางการศึกษา ได้ดำเนินการคัดเลือกและจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้การบริการสารสนเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนโยบายจัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้เพียงพอและตรงตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเฉพาะอาจารย์ประจำหลักสูตร คณะ สาขาวิชา ห้องสมุดเปิดกว้างให้ผู้ใช้ทั้งคณาจารย์ นักศึกษา บุคลากร ตลอดจนบุคคลภายนอก สามารถเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อพิจารณาจัดซื้อไว้บริการ
[√] 1. มีระบบ และกลไก ด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งสนับสนุนทางการศึกษา
1. การกำหนดขอบเขตและนโยบายการให้บริการห้องสมุดและฐานข้อมูล ห้องสมุด มทร.พระนคร ได้กำหนดขอบเขตการให้บริการห้องสมุดและฐานข้อมูลไว้อย่างชัดเจน มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกลุ่มวิทยบริการพร้อมกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน มีการวิเคราะห์ระบบและกลไกการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย วิเคราะห์ระบบและกลไกการให้บริการห้องสมุดและฐานข้อมูล มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดเพื่อสรุปปัญหาการให้บริการในปีที่ผ่านมา เพื่อหาแนวทางการแก้ไขพร้อมกับรับทราบนโยบายแผนการปฏิบัติงานประจำปี 2557
จากการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2556 ที่ผ่านมา ปัญหาที่สำคัญในการให้บริการห้องสมุดและฐานข้อมูล ได้แก่ การจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศซึ่งใช้วิธีการสอบราคา ทำให้ห้องสมุดประสบปัญหา ดังนี้
- การจัดซื้อทำได้ปีละครั้ง ทำให้ผู้ใช้บริการไม่สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างที่ควรจะเป็น เพราะมีหนังสือที่มีคุณภาพผลิตออกใหม่ทุกวัน
- ทำให้ได้หนังสือไม่ครบตามที่รายการที่ขอเสนอซื้อ เนื่องจากบางเล่มยกเลิกการผลิต (Out of print)
- ทำให้สูญเสียงบประมาณในการจัดซื้อ ทำให้ซื้อได้ไม่ถึงวงเงินที่ตั้งไว้ 2,000,000 บาท
- หนังสือทุกเล่มมีราคาหน้าปกชัดเจน เป็นไปไม่ได้เลยที่จะซื้อเกินราคาที่ตั้งไว้ ดังนั้นแม้ไม่ใช้วิธีสอบราคา ก็ไม่ได้ทำให้มหาวิทยาลัยเสียหาย
- การจัดซื้อแบบตกลงราคา โดยปกติร้านค้าจะลดราคาให้ 10-20 % อยู่แล้ว แต่ถ้าหากใช้วิธีสอบราคา ห้องสมุดมักจะต้องสอบถามราคาไปทางบริษัทเพื่อหาวงเงิน ซึ่งทางบริษัทมักให้ราคาเต็ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำราต่างประเทศที่ยังไม่มีวางขายในท้องตลาด ต้องสั่งโดยตรง ก็จะมีการบวกค่าเซอร์วิสชาร์จเข้าไปด้วย (คิดเป็นเหรียญ) ซึ่งหากซื้อด้วยวิธีตกลงราคา งบประมาณที่เหลือจากส่วนลดจะสามารถนำไปซื้อหนังสือตามความต้องการของผู้ใช้ได้เพิ่มขึ้น
- หนังสือที่เป็นตำราวิชาการ (textbook) ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 2- 4 เดือนหนังสือจะมาถึงครบ ซึ่งบางรายการก็ล่าช้ากว่านั้น ดังนั้น ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายจึงยกเลิกรายการที่นำส่งช้า เนื่องจากกลัวโดนปรับ ทำให้ผู้ใช้หมดโอกาสที่จะได้นำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน การวิจัย และทำให้ผู้ที่เสนอแนะรายชื่อหนังสือใหม่ เข้าใจผิดว่าห้องสมุดไม่ได้จัดซื้อหนังสือให้
แนวทางการแก้ไข ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดเสนอแนะว่า ควรปรึกษากับกองคลังถึงแนวทางการจัดซื้อโดยวิธีตกลงราคา เพื่อให้ได้หนังสือที่ตรงกับความต้องการ รวดเร็วถูกต้อง ครบถ้วน โดยหัวหน้ากลุ่มวิทยบริการได้ปรึกษาขอคำแนะนำกับกองคลังเพื่อหาแนวทางการแก้ไข กองคลังโดยคุณสุมิตรา หัวหน้างานพัสดุ จึงได้ขอคำแนะนำจากกรมบัญชีกลางปรากฏว่า สามารถทำได้ เนื่องจากหนังสือเป็นวัสดุชนิดพิเศษที่สามารถระบุชื่อผู้แต่งได้ และเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการอันจะทำให้ได้หนังสือที่ครบถ้วน ถูกต้อง รวดเร็ว สามารถจัดซื้อโดยวิธีตกลงราคาได้ แต่กองคลังได้ให้ข้อเสนอแนะว่าควรเว้นระยะเวลาในการจัดซื้อ เพื่อให้ได้หนังสือที่มีเนื้อหาทันสมัย
[√] 2. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน ด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งสนับสนุนทางการศึกษา
1. สำรวจความต้องการ เมื่อกำหนดขอบเขตและนโยบายการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรเปลี่ยนจากการจัดซื้อด้วยวิธีสอบราคาเป็นวิธีตกลงราคาและวิธีพิเศษ ทำให้การจัดหาทรัพยากรมีความคล่องตัวเพิ่มขึ้น เพื่อจะให้ได้ทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ จำเป็นอย่างยิ่งต้องทำการสำรวจความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้ทราบความต้องการที่แท้จริงและได้ทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงตามสาขา/หลักสูตร ดังนั้น จึงได้จัดส่งแบบสำรวจความต้องการไปยังสาขาวิชา/คณะ ได้แก่ แบบสำรวจการต่ออายุนิตยสาร และวารสารทางวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2557 บันทึกข้อความแจ้งขั้นตอนการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด และ แบบฟอร์มการเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการท่านอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ นักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก สามารถเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศได้โดยกรอกแบบฟอร์มการเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุดที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน
2. ประเมินผลความต้องการ เมื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร ภาควิชา/คณะ นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยได้แจ้งความต้องการเสนอรายชื่อหนังสือ ตำรา วารสาร และฐานข้อมูล ที่ต้องการให้ห้องสมุดจัดซื้อหรือต่ออายุจากช่องทางนั้น ห้องสมุดจะทำการรวบรวมรายชื่อ พิจารณาความเหมาะสม เพื่อประเมินความต้องการและความจำเป็นในการจัดซื้อ กรณีหนังสือ ต้องตรวจสอบฉบับซ้ำจากฐานข้อมูล ถ้ามีอยู่แล้ว จะไม่พิจารณาจัดซื้อ ยกเว้นมีเหตุผลและความจำเป็น
3. จัดทำข้อเสนอความต้องการและแนวทางการแก้ปัญหา รวบรวมรายชื่อหนังสือ ตำรา วารสาร และฐานข้อมูลเพื่อดำเนินการจัดซื้อ และเพื่อให้ได้ทรัพยากรที่ตรงกับความต้องการอาจารย์ประจำหลักสูตร ภาควิชา/คณะมากที่สุด การจัดซื้อหนังสือของห้องสมุด จะดำเนินการเป็นระยะๆ ต่อเนื่องตลอดปีงบประมาณ ดังนั้น ผู้ใช้บริการสามารถเสนอแนะให้จัดซื้อได้ต่อเนื่องตลอดปีงบประมาณเช่นกัน
4. ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ห้องสมุด มทร.พระนคร มีขั้นตอนในการจัดหาหนังสือ ตำรา วารสาร ฐานข้อมูล เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
4.1 ห้องสมุดได้ประชุมบรรณารักษ์วางแผน กำหนดนโยบายการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศประจำปีงบประมาณ 2557 โดยงบประมาณในการเสนอซื้อของแต่ละคณะ แบ่งตามค่า FTES ของปีการศึกษา 2556 และร่วมกันสรุปพิจารณาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขจากการจัดซื้อในปีงบประมาณผ่านมา
4.2 กระบวนการจัดหาหนังสืออธิบายตาม Flowchart การดำเนินงาน ดังนี้
4.2.1 ห้องสมุด ดำเนินการประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ใช้บริการ อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชา/คณะ ถึงแนวทางในการจัดหาทรัพยากรห้องสมุดในทุกช่องทาง โดยมีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
- ห้องสมุดจัดส่งแคตตาล็อครายชื่อหนังสือให้อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชา/คณะ เป็นผู้คัดเลือก
- ห้องสมุดออกบันทึกเชิญชวนให้ผู้ใช้บริการร่วมคัดเลือกหนังสือ ณ ร้านค้าจัดจำหน่าย
- ติดบอร์ดประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ใช้บริการร่วมเสนอรายชื่อหนังสือที่หน้าห้องสมุด
- ประชาสัมพันธ์ผ่าน Facebook
4.2.2 ห้องสมุดเปิดช่องทางการเสนอรายชื่อหนังสือในหลาย ๆ ช่องทาง เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกช่องทางการเสนอซื้อได้สะดวก โดยวิธีการดังนี้
- แนะนำผ่านระบบแนะนำหนังสือใหม่
- บรรณารักษ์นำเสนอแคตตาล็อกให้อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชา/คณะ คัดเลือก
- แบบฟอร์มให้ผู้ใช้กรอกเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศบริเวณเคาน์เตอร์ยืม-คืนของห้องสมุดทุกแห่ง
- E-mail ห้องสมุดที่ library@rmutp.ac.th
- Facebook ห้องสมุด
4.2.3 รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ได้รับ นำมาตรวจสอบฉบับซ้ำกับฐานข้อมูลระบบห้องสมุด ถ้ามีอยู่แล้วจะพิจารณาไม่จัดซื้อ ยกเว้น มีความจำเป็น ถ้าไม่จัดซื้อ จะแจ้งกลับให้ผู้เสนอทราบถึงเหตุผลในการไม่จัดซื้อ จากนั้น รวบรวมรายการเพื่อทำเรื่องขออนุมัติ
4.2.4 ขั้นตอนการจัดซื้อนั้น ห้องสมุดจะดำเนินการขอใบเสนอราคา จากบริษัทหรือตัวแทนจำหน่ายอย่างน้อย 3 แห่ง
4.2.5 เปรียบเทียบใบเสนอราคา โดยจะพิจารณาซื้อกับบริษัทที่ให้ราคาต่ำที่สุด ทำเรื่องขออนุมัติจัดซื้อจากมหาวิทยาลัย
4.2.6 บริษัทหรือตัวแทนจำหน่ายส่งตัวเล่ม ห้องสมุดดำเนินการตรวจสอบความเรียบร้อย ถูกต้องของตัวเล่ม
4.2.7 ส่งไปงานวิเคราะห์ เพื่อทำการวิเคราะห์ให้เลขหมู่ คีย์ข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุด
4.2.8 จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมออกให้บริการ
4.2.9 รวบรวมรายชื่อหนังสือใหม่เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และแจ้งรายชื่อหนังสือใหม่ให้ผู้เสนอซื้อทราบ พร้อมจัดแสดงหนังสือใหม่ให้ผู้ใช้บริการทราบ
สรุปค่าใช้จ่ายสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ประจำปี 2557 (บาท)
หนังสือ | วารสาร/หนังสือพิมพ์ | ฐานข้อมูล | E-book | รวมทั้งสิ้น |
1,598,140.75 | 596,649 | 428,000 | – | 2,622,789.75 |
5. ให้บริการห้องสมุดและฐานข้อมูล
ห้องสมุด มทร.พระนคร ให้บริการห้องสมุด 4 วิทยาเขต คือ เทเวศร์ โชติเวช พระนครเหนือและพณิชยการพระนคร ให้บริการหนังสือทั่วไปภาษาไทย จำนวน 100,736 เล่ม หนังสือทั่วไปภาษาอังกฤษ จำนวน 14,537 เล่ม หนังสืออ้างอิงภาษาไทย จำนวน 1,366 เล่ม และหนังสืออ้างอิงภาษาอังกฤษ จำนวน 284 เล่ม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังให้บริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการอ้างอิงและวิจัยที่ สกอ.ดำเนินการบอกรับให้ จำนวน 13 ฐาน รวมถึงฐานข้อมูลด้านออกแบบและแฟชั่น WSGN ที่ทางมหาวิทยาลัยบอกรับเองอีก 1 ฐาน และให้บริการฐานข้อมูลทดลองใช้งาน จำนวน 6 ฐาน ฐานข้อมูล E-book ฐานข้อมูลคลังปัญญาซึ่งรวบรวมผลงานวิชาการและวิจัยของมหาวิทยาลัย มีฐานข้อมูลที่ห้องสมุดพัฒนาขึ้นเอง เช่น ฐานข้อมูลวารสารห้องสมุด ฐานข้อมูลหนังสือใหม่ ระบบแจ้งยืมข้ามห้องสมุดสาขา ระบบแนะนำหนังสือ และระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (RMUTP AutoLib) เป็นต้น
การให้บริการฐานข้อมูล
- ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการอ้างอิงและวิจัยที่ สกอ.ดำเนินการบอกรับให้ จำนวน 13 ฐาน โดยสกอ.จะดำเนินการต่ออายุการใช้งานให้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ห้องสมุดจะทำหน้าที่แนะนำ อบรม ตอบคำถามการใช้งานฐานข้อมูลให้กับอาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชา/คณะ
- ฐานข้อมูลที่มหาวิทยาลัยบอกรับเอง ได้แก่ ฐานข้อมูลด้านออกแบบและแฟชั่น WSGN โดยรับความต้องการจากคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 สำนักวิทยบริการฯ จึงเป็นตัวแทนดำเนินการบอกรับให้ โดยสำนักงานผู้อำนวยการเป็นผู้ติดต่อประสานงาน
- ฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นเอง ได้แก่ ฐานข้อมูล E-book ฐานข้อมูลคลังปัญญา ฐานข้อมูลวารสารห้องสมุด และฐานข้อมูลหนังสือใหม่
[√] 3. มีการประเมินกระบวนการ และมีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งสนับสนุนทางการศึกษา
1. ประเมินความพึงพอใจ ห้องสมุดได้เก็บสถิติระยะเวลาในการจัดทำทรัพยากรสารสนเทศ โดยกำหนดให้การจัดเตรียมหนังสือให้พร้อมออกให้บริการเป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด และเพื่อให้ทราบผลการทำงาน ห้องสมุดได้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจในทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ มีดังนี้
- แบบประเมินการใช้ฐานข้อมูลคลังปัญญา
- แบบประเมินความพึงพอใจการใช้ฐานข้อมูลวารสารห้องสมุด
- แบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการห้องสมุด
- แบบประเมินความพึงพอใจระบบแนะนำหนังสือ
- แบบประเมินระบบฐานข้อมูลหนังสือใหม่
2. สรุปผลการประเมินพร้อมหาแนวทางการแก้ปัญหา ห้องสมุดได้ประชุมวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานจากแบบประเมินต่าง ๆ ทั้งจากระบบประเมินและจากแบบฟอร์มการประเมิน ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางการวางแผนการปฏิบัติงานห้องสมุดต่อไป จากผลประเมินความพึงพอใจ สรุปผลได้ ดังนี้
- การใช้ฐานข้อมูลคลังปัญญา มีค่าเฉลี่ย 4.58
- การใช้ฐานข้อมูลวารสารห้องสมุด มีค่าเฉลี่ย 4.53
- ความพึงพอใจผู้ใช้บริการห้องสมุด มีค่าเฉลี่ย 4.73
- ระบบแนะนำหนังสือ มีค่าเฉลี่ย 4.63
- ระบบฐานข้อมูลหนังสือใหม่ มีค่าเฉลี่ย 4.52
สรุปได้ว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของห้องสมุดในด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.51 ขึ้นไป นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการได้ให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจไว้ 2 ข้อ ได้แก่
- อยากให้รับนิตยสาร giraffe ให้หน่อยค่ะ มันเป็นนิตยสารแจกฟรี หนูไปทีไร หมดทุกที
- อยากให้มีหนังสือแจ้งด้วยว่าห้องสมุดมีหนังสือใหม่อะไรบ้าง (แบบประเมินความพึงพอใจระบบแนะนำหนังสือ)
จากข้อเสนอแนะที่ผู้ใช้บริการต้องการทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือใหม่อะไรบ้าง ห้องสมุดได้กำหนดวิธีการปรับปรุง โดยให้ทุกห้องสมุดจัดมุมแนะนำหนังสือใหม่ และทำหนังสือแจ้งประชาสัมพันธ์รายชื่อหนังสือใหม่ไปให้ทุกคณะทราบ เพื่อผู้ใช้บริการจะได้ทราบและเลือกใช้บริการหนังสือที่มีเนื้อหาทันสมัย ตรงกับความต้องการ นอกจากนี้ ยังได้ทำการติดต่อ สำนักพิมพ์ salmon บอกรับนิตยสาร giraffe ให้กับผู้เสนอแนะอีกด้วย
[√] 4. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมของการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งสนับสนุนทางการศึกษา
จากข้อเสนอแนะที่ผู้ใช้บริการได้แจ้งความต้องการไว้ในแบบประเมินความพึงพอใจนั้น ห้องสมุดได้สรุปประเด็นปัญหา และได้กำหนดวิธีการแก้ไข ปับปรุงในทันที ดังนี้
- ผู้ใช้บริการต้องการทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือใหม่อะไรบ้าง ห้องสมุดได้กำหนดวิธีการปรับปรุง โดยให้ทุกห้องสมุดจัดมุมแนะนำหนังสือใหม่ และทำหนังสือแจ้งประชาสัมพันธ์รายชื่อหนังสือใหม่ไปให้ทุกคณะทราบ เพื่อผู้ใช้บริการจะได้ทราบและเลือกใช้บริการหนังสือที่มีเนื้อหาทันสมัย ตรงกับความต้องการ
- ติดต่อ สำนักพิมพ์ salmon บอกรับนิตยสาร giraffe ให้กับผู้เสนอแนะอีกด้วย
เพื่อให้กระบวนการให้บริการห้องสมุดและฐานข้อมูลดียิ่ง ๆ ขึ้น จึงได้มีการทบทวนกระบวนการทำงานที่ผ่านมา ได้จัดประชุมเพื่อสรุปงานและทบทวนกระบวนการต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อสรุปปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อปรับปรุงกระบวนการให้บริการห้องสมุดและฐานข้อมูลให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น และจัดทำรายงานเสนอผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการต่อไป
[√] 5. มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งสนับสนุนทางการศึกษา โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน สามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน
ห้องสมุดมีเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ประกอบไปด้วยชุมชนนักปฏิบัติ (COP) 4 ชุมชนด้วยกัน คือ
- ชุมชนนักปฏิบัติเทเวศร์ (CL COP)
- ชุมชนนักปฏิบัติโชติเวช (CHL COP)
- ชุมชนนักปฏิบัติพณิชยการพระนคร (BCL COP)
- ชุมชนนักปฏิบัติพระนครเหนือ (NBL COP)
โดยทั้ง 4 ชุมชนได้จัดทำ KM เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเกี่ยวกับงานห้องสมุดอยู่เสมอ โดยเผยแพร่ที่ http://lib.arit.rmutp.ac.th/?page_id=5049 นอกจากนี้ ยังได้จัดทำ Best Practice เรื่อง การลงรายการดรรชนี
ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย (ข้อ) |
12 เดือน (1 ส.ค. 57-31 ก.ค. 58) |
การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน | |||
[ ] | [ ] | [√] | |||
ผล | คะแนน | ต่ำกว่าเป้าหมาย | เท่ากับเป้าหมาย | สูงกว่าเป้าหมาย | |
4 | 5 | 5 |
รายการหลักฐาน
1. มีระบบ และกลไก ด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งสนับสนุนทางการศึกษา
สวท.1.3-1-1 แผนผังระบบกลไกการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสียการบริการห้องสมุดและฐานข้อมูล
สวท.1.3.1-2 แผนผังระบบกลไกการให้บริการห้องสมุดและฐานข้อมูล
สวท.1.3.1-3 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกลุ่มวิทยบริการ
สวท.1.3.1-4 แผนการปฏิบัติงานกลุ่มวิทยบริการ
สวท.1.3.1-5 รายงานการประชุมกลุ่มวิทยบริการ ครั้งที่ 5/56
สวท.1.3.1-6 Flowchart การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
2. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน ด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งสนับสนุนทางการศึกษา
สวท.1.3-2-1 บันทึกข้อความสำรวจการต่ออายุนิตยสาร และวารสารทางวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2557
สวท.1.3-2-2 บันทึกข้อความแจ้งขั้นตอนการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด
สวท.1.3-2-3 บันทึกข้อความประชาสัมพันธ์การเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด
สวท.1.3-2-4 ตัวอย่างเอกสารแคตตาล็อครายชื่
อหนังสือ สวท.1.3-2-5 บันทึกข้อความเชิญชวนร่วมคัดเลือกหนังสือ ณ ร้านค้าจัดจำหน่าย
สวท.1.3-2-6 ติดบอร์ดประชาสัมพันธ์เชิญชวนร่วมเสนอรายชื่อหนังสือ
สวท.1.3-2-7 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผ่าน Facebook
สวท.1.3-2-8 ระบบแนะนำจัดซื้อหนังสือใหม่
สวท.1.3-2-9 รายชื่อหนังสือที่อาจารย์สาขาวิชา/คณะ เสนอแนะ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, คณะบริหารธุรกิจ, คณะศิลปศาสตร์, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สวท.1.3-2-10 ตัวอย่างหนังสือที่อาจารย์
เสนอแนะผ่านแบบฟอร์มแล้วจัดซื้ อให้บริการ สวท.1.3-2-12 Facebook ห้องสมุด
สวท.1.3-2-13 เอกสารการจัดซื้อ ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, บริษัทบุ๊คเน็ต จำกัด, บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), การบอกรับวารสารและหนังสือพิมพ์ (บ.รุ่งโรฒณ์ บริการ), การต่ออายุวารสาร รอบที่ 1, การต่ออายุวารสาร รอบที่ 2, การบอกรับวารสารต่างประเทศ, การบอกรับฐานข้อมูล WSGN
สวท.1.3-2-14 บันทึกข้อความประชาสัมพันธ์รายชื่อหนังสือใหม่ที่จัดซื้อ ปีงบประมาณ 2557, ห้องสมุดเทเวศร์, ห้อสมุดโชติเวช, ห้องสมุดพณิชยการพระนคร, ห้องสมุดพระนครเหนือ
สวท.1.3-2-15 ฐานข้อมูลหนังสือใหม่
สวท.1.3-2-16 ตัวอย่างหน้าจอ OPAC หนังสือที่มีการจัดซื้อปีงบประมาณ 2557
สวท.1.3-2-17 มุมประชาสัมพันธ์หนังสือใหม่
สวท.1.3-2-16 เว็บไซต์ห้องสมุดให้บริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
3. มีการประเมินกระบวนการ และมีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งสนับสนุนทางการศึกษา
สวท.1.3-3-1 แบบประเมินการใช้ฐานข้อมูลคลังปัญญา
สวท.1.3-3-2 แบบประเมินความพึงพอใจการใช้ฐานข้อมูลวารสารห้องสมุด
สวท.1-3-3-3 แบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการห้องสมุด
สวท.1-3-3-4 แบบประเมินความพึงพอใจระบบแนะนำหนังสือ
สวท.1.3-3-5 แบบประเมินระบบฐานข้อมูลหนังสือใหม่
สวท.13-3-6 ผลประเมินความพึงพอใจการใช้ฐานข้อมูลคลังปัญญา
สวท.1.3-3-7 ผลประเมินความพึงพอใจการใช้ฐานข้อมูลวารสารห้องสมุด
สวท.1.3-3-8 ผลประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการห้องสมุด
4. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมของการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งสนับสนุนทางการศึกษา
สวท.1.3-4-1 รายงานการประชุม งานวิทยบริการ มทร.พระนคร ครั้งที่ 2/57
สวท.1.3-4-2 บันทึกข้
อความเสนอการทบทวนกระบวนการให้ บริการห้องสมุดและฐานข้อมูล สวท.1.3-4-3 บันทึกข้อความประชาสัมพันธ์รายชื่อหนังสือใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2557
สวท.1.3-4-4 มุมประชาสัมพันธ์หนังสือใหม่
สวท.1.3-4-5 นิตยสารที่บอกรับใหม่ giraffe
5. มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งสนับสนุนทางการศึกษา โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน สามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน
สวท.1.3-5-1 เว็บ KM ห้องสมุด
สวท.1.3-5-2 แนวปฏิบัติที่ดี Good Practice เรื่อง การลงรายการดรรชนีบทความวารสาร
จุดเด่น
- มีหนังสือเวียนแจ้งถึงการจัดสรรงบประมาณในการสั่งซื้อทรัพยากรสารสนเทศให้กับทุกคณะทราบอย่างชัดเจน และแจ้งถึงช่องทางต่างๆในการเสนอซื้อทรัพยากรเข้าห้องสมุด
- มีกลไกการจัดสรรงบประมาณอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมให้กับทุกคณะ
- มีกระบวนการดำเนินงานจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสามารถตรวจสอบได้ทุก
ขั้นตอน - มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก โดยมีรถรับส่งให้อาจารย์ไปคัดเลือกหนังสือที่ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายโดยตรง
จุดที่ควรพัฒนา
- การจัดซื้อหนังสือใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน ดังนั้น ควรมีการวางแผนการจัดซื้อให้เร็วขึ้น
- ควรมีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้มีการใช้งานวารสารต่างประเทศให้คุ้มค่ามากกว่านี้
ผู้รับผิดชอบ | ชื่อ | ตำแหน่ง |
ผู้กำกับตัวบ่งชี้ | นางสายธาร สุเมธอธิคม | หัวหน้ากลุ่มวิทยบริการ |
ผู้จัดเก็บข้อมูล/รายงาน | นางบัวระภา กลยนีย์ น.ส.โสภา ไทลา น.ส.รัตดา พุทธศรีเมือง น.ส.กมร สุประภารพงษ์ นางสุมาลี พรเจริญ |
หัวหน้างานห้องสมุด หัวหน้างานวิทยบริการ บรรณารักษ์ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ |